.

Oct 8, 2009

วิเคราะห์ปัญหาของระบบการศึกษาไทย กับการแก้ปัญหาของรัฐบาลประเด็นนโยบายเรียนฟรี 15 ปี

    Producing brainless parrots are Thai school's specialty


โดย ภัทรษมน รัตนางกูร


วิเคราะห์ระบบการศึกษาไทย (SWOT Analysis)


จุดแข็ง
1. ระบบการศึกษาของไทยมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายเดียวกันทำให้การบริหารจัดการและการมุ่งสู่เป้าหมายเป็นไปในทิศทางเดียวกันและสามารถดำเนินการได้รวดเร็ว
2. มีหลักสูตรที่ผลิตบุคลากรทางการศึกษา ที่มีคุณภาพสามารถสร้างความพึงพอใจแก่นายจ้าง
3. หลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีการปฏิบัติการ และเสริมสร้างประสบการณ์จริงทำให้หลักสูตรเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
4. มีการสนับสนุนงบประมาณสำหรับนักศึกษาหรือทุนการศึกษาในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เป็นการส่งเสริม พัฒนา ปลูกฝังจิตสำนึกให้กับนักศึกษา ทำให้นักศึกษาได้รับการยอมรับจากนายจ้าง
5. มีการส่งเสริมให้คณาจารย์จัดทำงานวิจัยที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งงานวิจัยเต็มรูปแบบและวิจัยเอกสารเพื่อตอบสนองพันธกิจของระบบการศึกษาไทย
6. มีโครงการความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือต่อสังคมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดย มีนโยบายและแผนงานที่ชัดเจน
7. มีการกระจายอำนาจทางการบริหารจัดการเพื่อลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานรวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงานชัดเจนทำให้การบริหารจัดการการศึกษามีความคล่องตัว


จุดอ่อน

1. ปัญหาครูอาจารย์ ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาของไทยส่วนใหญ่ ยังขาดความเข้าใจว่า การปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงนั้นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อย่างถึงราก ถึงโคน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและแตกต่างไปจากเดิม เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีทำงาน ของผู้บริหารการศึกษาและครูอาจารย์ เปลี่ยนแปลงหลักสูตร
2. ปัญหาการขาดภาวะผู้นำที่ตระหนักถึงรากเหง้าและความสำคัญของปัญหาการปฏิรูป การศึกษา มองปัญหาเรื่องการศึกษาอย่างเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นในสังคมแบบเป็นระบบองค์รวม
3. ปัญหาระบบคัดเลือก การบริหารและการให้ความดีความชอบครูอาจารย์ ผู้บริหารและ บุคลากรทางการศึกษา อยู่ภายใต้ระบบราชการแบบรวมศูนย์กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิรูปทางการศึกษา
4. ปัญหาด้านประสิทธิภาพการใช้งบประมาณการศึกษาในแง่คุณภาพของผู้จบการศึกษา ทุกระดับต่ำกว่าหลายประเทศ ทั้งๆที่การจัดสรรงบประมาณการศึกษาของรัฐบาล คิดเป็นสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรืองบประมาณประจำปีทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
5. ปัญหาระบบการประเมินผลและการสอบแข่งขันเพื่อรับการคัดเลือกเรียนต่อใน มหาวิทยาลัย รวมทั้งการศึกษาระดับอื่นๆด้วย ยังเป็นการสอบแบบปรนัย เพื่อวัดความสามารถในการจดจำข้อมูล ทำให้ขัดแย้งกับแนวคิดปฏิรูปการเรียนรู้แบบใหม่ที่เสนอว่า ควรให้ผู้เรียนได้หัด คิดวิเคราะห์เป็น


โอกาส

1. หน่วยงานหลักของประเทศที่รับผิดชอบการศึกษาระดับอุดมศึกษากำหนดภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาไว้อย่างชัดเจน คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการสู่สังคมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพในการดำเนินงาน
2. มีองค์ประกอบมาตรฐานคุณภาพและดัชนีบ่งชี้ที่กำหนดเป็นกรอบและแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา
3. สกอ. กำหนดนโยบายและแผนงานในการสนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ การพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนาประเทศ
4. การเลื่อนฐานะจากสถาบันเป็นมหาวิทยาลัยส่งผลให้ความต้องการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้นและมีอิสระในการบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
5. กระแสสังคมและนโยบายของรัฐที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นภารกิจหลักของสถาบันการศึกษาส่งผลให้มีความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นมากขึ้น


ข้อจำกัดหรือภัยคุกคาม

1. ภารกิจหลักของสถานศึกษามีมากถึง 4 ด้าน คือ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการทางวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทำให้การดำเนินงานไม่สมบูรณ์ครบทุกด้านเนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
2. สถาบันการศึกษาจำเป็นต้องรับนักศึกษาจำนวนมาก และรับนักศึกษาจากท้องถิ่นทำให้เป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะนโยบายรัฐบาลโดยรวม
3. สภาพเศรษฐกิจที่ผันผวนส่งผลให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในบางสาขาหางานได้ยากขึ้น


ประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์


ประเด็นยุทธศาสตร์(Strategic Issues) เป้าประสงค์(Goals)

1. จัดการศึกษาทุกๆ ด้านอย่างมีคุณภาพ

1.1 เป็นแหล่งการศึกษาเชิงบูรณาการที่เข้มแข็งและได้มาตรฐานสากล
1.2 สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ/วิชาชีพ

2. พัฒนาสังคมโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

2.1 ให้บริการวิชาการแก่สังคมโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

2.2 เป็นแหล่งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

3. สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านที่ได้มาตรฐาน

3.1 สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงบูรณาการ เพื่อการแข่งขันในระดับชาติและ นานาชาติ



เป้าประสงค์และกลยุทธ์


เป้าประสงค์(Goals) กลยุทธ์(Strategies)


1. เป็นแหล่งการศึกษาเชิงบูรณาการที่เข้มแข็งและได้มาตรฐานสากล

1.1 บูรณาการหลักสูตรแบบองค์รวม
1.2 สร้างความเข้มแข็งทางวิชาชีพเฉพาะทาง
1.3 บริหารจัดการเชิงรุก

2. สร้างความเข็มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพ

2.1 พัฒนานักศึกษาและบัณฑิตให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า
2.2 พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ

3. ให้บริการวิชาการแก่สังคมโดยยัดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

3.1 ให้บริการวิชาการแก่สังคมที่มีคุณภาพ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

4. เป็นแหล่งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

4.1 สนับสนุนและสืบสานงานศิลปวัฒนธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม

5. สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงบูรณาการเพื่อการแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติ

5.1 พัฒนางานวิจัย / นวัตกรรม / สิ่งประดิษฐ์เชิงบูรณาการ เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์
5.2 เผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศ


กลยุทธ์ / มาตรการ


กลยุทธ์(Strategies) กลวิธี/มาตรการ

1. บูรณาการหลักสูตรแบบองค์รวม

1.1 พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของ สังคมในทุกๆ ระดับการศึกษา
1.2 พัฒนาหลักสูตรต่อยอดให้แก่ผู้มีงานทำ
1.3 พัฒนาหลักสูตรร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชน
1.4 จัดการเรียนการสอน e – learning
1.5 จัดระบบเทียบโอนประสบการณ์

2. สร้างความเข้มแข็งทางวิชาชีพเฉพาะทาง

2.1 จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย
2.2 พัฒนาระบบคุณภาพที่เน้นมาตรฐานสากล

3. บริหารจัดการเชิงรุก

3.1 สร้างเครือข่ายฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
3.2 พัฒนาผู้บริหารสายเลือกใหม่
3.3 ปรับปรุงพัฒนาระบบบริหารงานสู่การเปลี่ยนแปลง
3.4 ประชาสัมพันธ์คณะฯ เชิงรุก
3.5 พัฒนาระบบสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร
3.6 แนะแนวการศึกษาเชิงรุก
3.7 หารายได้จากสินทรัพย์และองค์ความรู้ที่บุคลากรมีอยู่


4. พัฒนานักศึกษาและบัณฑิตให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า

4.1 เตรียมความพร้อมนักศึกษาสู่โลกอาชีพ
4.2 สร้างความตระหนักในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการดำรงชีพ
4.3 ให้ความรู้ความเข้าใจและการยอมรับในเรื่องการยึดมั่นประกอบคุณงามความดีในการเรียน การทำงานและการดำรงชีพ
4.4 สนับสนุนส่งเสริมการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตทั้งกายและใจ
4.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้นักศึกษาและบุคลากรด้านการพัฒนานักศึกษากับอารยประเทศ
4.6 ทำความร่วมมือกับสถานศึกษา สถานประกอบการทั้งภายในและภายนอกประเทศ

5. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทาง การศึกษาทุกระดับ

5.1 ปลูกจิตสำนึกและการทำงานร่วมกัน
5.2 สร้างเครือข่ายความร่วมมือ
5.3 สร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้กับบุคลากร
5.4 จัดทำ Training Roadmap สำหรับบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

6. ให้บริการวิชาการแก่สังคมที่มีคุณภาพ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

6.1 ฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นเพื่อพัฒนาอาชีพเดิมและสร้างอาชีพใหม่ให้แก่ชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง
6.2 ผลิตสื่อการสอนในวิชาชีพทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

7. สนับสนุนและสืบสานงานศิลปวัฒนธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม

7.1 จัดกิจกรรมด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรมร่วมกับชุมชน
7.2 ศึกษาค้นคว้าผสมผสานเทคโนโลยีกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
7.3 บูรณาการการอนุรักษ์ส่งเสริม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมในการจัดการศึกษาและให้บริการวิชาการ
7.4 เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมสู่สากล
7.5 สร้างโอกาสเปิดเวทีให้นักศึกษาได้แสดงออกได้นำเสนองานด้านศิลปวัฒนธรรมของตนเอง

8. พัฒนางานวิจัย / นวัตกรรม / สิ่งประดิษฐ์เชิงบูรณาการเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์

8.1 สร้างเครือข่ายงานวิจัย
8.2 พัฒนานักวิจัยมืออาชีพ


จากการวิเคราะห์ระบบการศึกษาไทยข้างต้นจะเห็นว่ามีอุปสรรคปัญหาสำคัญอยู่ 5 ปัญหาใหญ่ๆ สรุปได้ดังนี้


1. ปัญหาครูอาจารย์ ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาของประเทศส่วนใหญ่ ยังขาดความเข้าใจที่แท้จริงว่า การปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงคือการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและแตกต่างไปจากเดิม เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีทำงาน ของผู้บริหารการศึกษาและครูอาจารย์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร

2. ปัญหาการขาดภาวะผู้นำที่ตระหนักถึงรากเหง้าและความสำคัญของปัญหาการปฏิรูปการศึกษา โดยมองปัญหาการศึกษาอย่างเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นในสังคมแบบเป็นองค์รวม และรู้จักจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหา เพื่อก่อให้เกิดการผลักดันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยสามารถปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบได้อย่างแท้จริง

3. ปัญหาระบบคัดเลือก การบริหารและการให้ความดีความชอบครูอาจารย์ ผู้บริหารและ บุคลากรทางการศึกษา อยู่ภายใต้ระบบราชการแบบรวมศูนย์ จึงกลายเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปทางการศึกษา ซึ่งระบบนี้ทำให้ครูอาจารย์ ผู้บริหารส่วนใหญ่ทำงานแค่ตามหน้าที่ไปวันๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีการแข่งขัน การตรวจสอบและประเมินผล เพื่อประสิทธิภาพของงานอย่างแท้จริง

4. ปัญหาด้านประสิทธิภาพการใช้งบประมาณการศึกษาในแง่คุณภาพของผู้จบการศึกษา ทุกระดับต่ำกว่าหลายประเทศ ทั้งๆที่การจัดสรรงบประมาณการศึกษาของรัฐบาล คิดเป็นสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือกระทั่งพิจารณาในแง่บประมาณประจำปีทั้งหมดพบว่าอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ตัวอย่างการใช้งบประมาณฯที่ไม่เกิดประสิทธิภาพเช่น นิยมนำงบประมาณแค่สร้างอาคาร สถานที่มากกว่าใช้เพื่อวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนสื่อทางการศึกษา

5. ปัญหาระบบการประเมินผลและการสอบแข่งขันเพื่อรับการคัดเลือกเรียนต่อใน มหาวิทยาลัย รวมทั้งการศึกษาระดับอื่นๆ ยังเป็นเพียงการสอบแบบปรนัย เพื่อวัดความสามารถในการจำข้อมูล ซึ่งมีความขัดแย้งกับแนวคิดปฏิรูปการเรียนรู้แบบใหม่ที่เน้นการให้รู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็น



**โดยสามารถสรุปประเด็นสู่แนวทางการพัฒนาปฎิรูประบบการศึกษาไทยเพื่อความยั่งยืน ได้โดยอาศัยแนวคิดและทฤษฎีดังต่อไปนี้


1. Active Learning to Action Research (ALAR Model)



Active Learning to Action Research (ALAR Model)
(adapted from Simple Action Research Model; Maclsaac, 1995
and Active Learning Design: Oliver, 1999) (วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล, 2552)

เป็นเครื่องมือที่พัฒนาเพื่อเป็นแนวทางในการทำวิจัยในในชั้นเรียน เป็นการพัฒนาจากการบูรณาการแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการของ Action Research เข้ากับรูปแบบ Learning Design


โดย ALAR Model ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 2 ส่วนคือ

1. กระบวนการวิจัยแบบ Action Research มี 4 ขั้นตอนคือ
• Plan
• Action
• Observe
• Reflection

2 การออกแบบการเรียนรู้ ของ Action Research ต้องพิจารณาปัจจัยการออกแบบการเรียนรู้ 3 ประการควบคู่กับไปคือ

• Learning Tasks ได้แก่ การออกแบบการสอน การกำหนดจุดประสงค์ การกำหนดวิธีจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การกำหนดบทบาทครูและบทบาทผู้เรียน และ การวัดและประเมินผล
• Learning Resourcesได้แก่ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ อาคาร-สถานที่ บุคลากร และสภาพแวดล้อมการศึกษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยตรง
• Learning Supportsได้แก่ ปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากทรัพยากรการเรียนรู้ เช่น การสนับสนุนของผู้บริหาร ความร่วมมือของครูและบุคลากรภายในและภายนอก แหล่งเรียนรู้ ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ


2. การบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา (Management Change)


คือวิวัฒนาการของแนวคิดทางการบริหารตามภาวการณ์ต่างๆ เช่น การบริหารแนววิทยาศาสตร์ มนุษยสัมพันธ์ เชิงระบบและตามถานการณ์ ภาวการณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามแcontext ของสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ฯลฯ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต้องบริหารแบบรู้ทัน มีวิสัยทัศน์โดยใช้ความรู้เดิมเป็นฐานจากนั้นนำมาวิเคราะห์เรียบเรียงศึกษาทำความเข้าใจ แล้วกำจัดจุดอ่อน เพิ่มจุดแข็ง เพื่อประโยชน์สูงสุด


โดยรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง แบ่งได้เป็น 3 แบบดังนี้


1. ตามแนวคิดของ Kurt Lewin ประกอบด้วย
• การคลายตัว (unfreezing) เนื่องจากเกิดปัญหาจึงต้องเปลี่ยนแปลง
• การเปลี่ยนแปลง (changing) คือ การเปลี่ยนจากพฤติกรรมเก่า ไปสู่พฤติกรรมใหม่
• การกลับคงตัวอย่างเดิม (refreezing) เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมใหม่ให้มั่นคงถาวร

2. ตามแนวคิดของ Larry Greiner โดยมีแนวคิดว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากแรงบีบภายนอก กับแรงผลักดันภายใน และการที่การเปลี่ยนแปลงมีการเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องทำการ ศึกษาการเปลี่ยนแปลง ค้นหาวิธีการที่ดีกว่า ทดลองวิธีใหม่ หล่อหลอมข้อดีเข้าด้วยกัน เพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ

3. ตามแนวคิดของ Harold J. Leavitt โดยเขาเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของงานโครงสร้าง ซึ่งจะส่งผลกระทบเกี่ยวพันกัน


3.แนวคิดคุณลักษณะของผู้บริหารที่จะสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพการศึกษา

ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1. เป็นผู้นำวิสัยทัศน์( Visionary Leadership ) และสามารถกระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคล ต่าง ๆ ได้
2. ใช้หลักการกระจายอำนาจ ( Empowerment ) และการมีส่วนร่วม ( Participation )
3. เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับบุคลากร ทั้งภายในและนอกองค์กร
4. มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
5. ผู้นำคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีและใช้ข้อมูลสถิติในนการวิเคราะห์และตัดสินใจ
6. ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือลูกน้อง
7. ความสามารถในการสื่อสาร
8. ความสามารถในการใช้แรงจูงใจ
9. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Chang Leadership )



4. ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism)



ทฤษฎีนี้พัฒนาขึ้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T. (Massachusette Institute of Technology) โดยสาระสำคัญคือ เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทฤษฎี มีสาระสำคัญว่า ความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by doing) มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน

1. ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นด้วยตนเอง โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ หากเป็นประสบการณ์ตรงที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำด้วยตนเองจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณค่า
2. กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้น



ประสบการณ์ใหม่ / ความรู้ใหม่ + ประสบการณ์เดิม / ความรู้เดิม = องค์ความรู้ใหม่



Seymour ให้ความเห็นว่า ทฤษฎีการศึกษาการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน
1. ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นด้วยตนเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาในสมองของผู้เรียนเท่านั้น โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ
2. กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดหากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้น




ประพจน์สรุปแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism) กล่าวได้ดังนี้



1. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อได้รับประสบการณ์ตรงหรือลงมือทำด้วยตนเอง (Learning by doing) ได้มีส่วนร่วมในการสร้างที่มีความหมายกับตนเอง ทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงผสมผสานความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้ที่มีอยู่เดิมและสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา
2. ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นด้วยตนเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาในสมองของผู้เรียนเท่านั้น โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ
3. กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้นโดยตรง

จากแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่ากระบวนการสอนของครูอาจารย์ควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้จากสิ่งที่เขามีอยู่ให้รู้จักพัฒนาต่อยอดได้ด้วยตนเอง การสอนจึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเนื้อหาโดยเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นหลัก ไม่สอนแบบยัดเยียด ต้องมีการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการสอนอย่างชัดเจน พิจารณาเนื้อหาสาระ วิธีการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ และควรให้เกิดการเรียนรู้มากที่สุด

ดังนั้นจากปัญหารระบบการศึกษาไทยข้างต้นเปรียบเทียบความเหมาะสมถึงความชัดเจนตรงจุดในการพยามยามแก้ไขปัญหาการศึกษา โดยการที่รํฐบาลมีการออกนโยบายเรียนฟรี 15 ปี เพื่อมุ่งเน้นในการเข้ามาแก้ไขปัญหาการศึกษาของไทย ดิฉันคิดว่ารัฐบาลไม่ควรมองแค่ต้องการให้แค่เรียนฟรี เพื่อลดภาระครอบครัว แต่ต้องเน้นให้เด็กไทยคิดเป็น ทำเป็น ที่สำคัญ นโยบายเรียนฟรีไม่ใช่หัวใจของการศึกษา แต่หัวใจการศึกษา คือ การที่เด็กได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ซึ่งแนวทางหนึ่งที่จะทำได้ คือ ต้องรื้อหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ แต่การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาจะเน้นเพียงเรื่องสวัสดิการ การแก้หนี้ครู ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ผิด แต่ไม่ควรให้น้ำหนักมากเกินกว่ากระบวนการพัฒนาระบบการศึกษาไทย



Keywords: ปัญหาระบบการศึกษาไทย, ปัญหาการศึกษาไทย, วิเคราะห์ปัญหาของระบบการศึกษาไทย, วิเคราะห์ปัญหาระบบการศึกษาไทย, วิเคราะห์ปัญหาระบบการศึกษา

Total Pageviews