.

Apr 26, 2009

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อบทบาทผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์

“อินเทอร์เน็ตกำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของโลกที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์เครือข่าย (Network Economy) และเป็นระบบการค้าที่ไร้พรมแดน”

กรีน สแปน ผู้ว่าการธนาคารสหรัฐฯ


กระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เป็นเงื่อนไขใหม่ของโลกที่ส่งผล กระทบกับสังคมไทย เทคโนโลยีสารสนเทศ กำลังเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนแห่งระบบ บทบาทขององค์การต้องปรับเปลี่ยน ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ มีความเข้าใจในการประสานด้านเทคโนโลยีกับการบริหารองค์การสมัยใหม่ ซึ่งเป็น การบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result-base Management) เพื่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผลที่เป็นรูปธรรม และสามารถวัดได้ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านเทคโนโลยี การเลือกสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสม ที่เอื้อต่อการวางแผนและการจัดการขององค์การ

ประเทศไทยกับนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยความจำเป็นและกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคณะ กรรมาการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเพื่อการส่งเสริม เผย แพร่เทคโนโลยี จึงได้ประกาศใช้นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับแรกที่เรียกว่า IT – 2010 โดยได้จัดทำนโยบายไอที 2000 และเสนอภารกิจที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ 3 ประการ

1. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติ
2. การลงทุนในด้านพัฒนาคุณภาพของพลเมือง
3. การลงทุนในการบริหารและบริการภาครัฐที่ดี

ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2539 โดยมีระยะเวลา 5 ปี และเพื่อเป็นการต่อเนื่องในเดือนตุลาคม 2544 จึงได้จัดทำแผนแม่บทด้านเทคโนโลยี สารสนเทศฉบับที่ 2 ซึ่งจะครอบคลุมกรอบเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2544-2553) หรือ IT-20101 ขึ้น โดยให้ความสำคัญกับบท บาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาด้าน IT ใน 5 สาขา ได้แก่

1. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ (e- Government)
2. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคอุตสาหกรรม (e-Industry)
3. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศใน ภาคการพาณิชย์ (e-Commerce)
4. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการศึกษา (e-Education)
5. การพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศในภาคสังคม (e-Society)

และเพื่อให้เห็นถึงรูปธรรมที่ชัดเจนแห่งการกำหนดกลยุทธ์ตามแผนที่วางไว้ ดิฉันจะทำการวิเคราะห์ SWOT เพื่อพิจารณาถึงจุดดี –ด้อย รวมถึงโอกาสและความเป็นได้สู่การสร้างหรือการกำหนดกลยุทธ์ (Creation of Strategy) ในการแก้ไขและพัฒนาให้ประเทศชาติไปสู่เศรษฐกิจในสังคมโลกาภิวัตน์ อย่างเป็นรูปธรรม ในระยะ 10 ปีข้างหน้า ดังนี้ค่ะ

1. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ (e-Government) การปรับปรุงและพัฒนาระบบการปฏิบัติของ ภาครัฐโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสือสาร ในการจัดองค์การสมัยใหม่ เพื่อการบริหารและการบริการที่ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทั้งระบบบริหารภายใน (Back Office) และระบบบริการภายนอก (Front Office) เพื่อการนำ ไปสู่ Good Government โดยจัดทำแผนแม่บท และปรับปรุงในส่วนที่เกี่ยวข้องเช่นบุคลากร ระบบการบริหาร กฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ

จุดแข็ง (Strengths)

- เป็นระบบที่ทันสมัย
- เป็นระบบที่ให้บริการได้รวดเร็ว และสามารถลดขั้นตอนต่างๆในการทำธุรกรรมต่างๆผ่านระบบออนไลน์
- สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น และลดความกดดันให้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ (Service Mind)
- สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน เพื่อการประสานงานและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Match Maker)
- สามารถตรวจสอบข้อมูลและทำธุรกรรมทางการเงิน โดยผ่านระบบธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อลดความยุ่งยากและสะดวกรวดเร็ว เป็นอีกช่องทางเลือกหนึ่งให้กับภาคประชาชนในการทำธุรกรรมต่างๆกับหน่วยงานภาครัฐ
- สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับหน่วยงานภาครัฐ

จุดอ่อน (Weaknesses)
- เป็นระบบที่สร้างภาระในด้านงบประมาณให้กับหน่วยงานภาครัฐ การพัฒนาระบบ การบำรุงรักษาและการจ้างบุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญและอื่นๆอีก
- เป็นระบบที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อนในการใช้งาน
- การจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงานยังไม่มีความปลอดภัย
- ขาดแคลนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานกลางในการเชื่อมโยง และแปรข้อมูลระหว่างองค์กร
- ยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกกลุ่ม
- บุคลากรของภาครัฐยังขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้ระบบ E-Commerce

โอกาส (Opportunities)
- แนวโน้มการใช้บริการเกี่ยวกับระบบ On-line ในประเทศไทยมีการใช้แพร่หลายมากขึ้น
- เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นระบบ network ต่างๆ เพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้บริการในปัจจุบันที่มีจำนวนมากขึ้น
- ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน หันมาสนใจในการพัฒนา และการนำระบบ on-line มาพัฒนาเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารและการเชื่อมโยงมากขึ้น

อุปสรรค (Threats)
- ขาดการเชื่อมโยงอันเป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกองค์กร
- การติดขัดเนื่องจาก ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ กฎหมายและนโยบายที่ซับซ้อนและขาดความชัดเจน
- การโฆษณาประชาสัมพันธ์ในการใช้ระบบ e-Government ยังไม่มีความครอบคลุมและทั่วถึง ทำให้ผู้รับบริการบางกลุ่มขาดความรู้ และความเข้าใจในการใช้ระบบอย่างถูกต้อง
- ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐในการพัฒนาระบบ โครงสร้างพื้นฐาน งบประมาณและบุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประชาชนยังขาดความเชื่อมั่น และความเข้าใจในการใช้ระบบ e-Government

2. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการพาณิชย์ (e-Commerce) เป็นการส่งเสริมการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิมขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าภายในและระหว่างประเทศโดยการพัฒนาระบบความปลอดภัยในการชำระเงิน
บนเครือข่ายและเร่งออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งโครสร้างพื้นฐานที่มีศักยภาพ

จุดแข็ง (Strengths)
- วิสัยทัศน์ของผู้นำและผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับ ICT มากขึ้น
- ภูมิประเทศของไทยซึ่งเป็นทั้ง gateway และศูนย์กลางการค้า
- มีการลงทุนนำ ICT มาใช้ในงานด้านต่างๆ มากขึ้น สามารถก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์พื้นฐาน
- ศักยภาพในการขยายตัวของตลาด ICT ของไทย

จุดอ่อน (Weaknesses)
- ประเทศไทยยังไม่ได้ปรับกฎระเบียบ กลไกที่เกื้อหนุนการเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ (New Economy) - ขาดพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษที่จะใช้งาน ICT ได้ดี
- ขาดการสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ
- การขาดความสามารถและประสบการณ์ด้านการจัดการ
- บริษัทไอทีของไทยยังขาดความสามารถด้านการตลาดและการหาลูกค้ารายใหญ่
- ขาดหน่วยงานดูแลด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของเครือข่ายในประเทศ
- ความผันผวนของค่าเงินบาทส่งผลกระทบกับการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ
- ขาดการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้บุคลากร ICT ของไทยให้ความสำคัญกับใบรับรองมาตรฐานคุณภาพ

โอกาส (Opportunities)

- การพัฒนาด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้สินค้าและบริการไทยเข้าสู่ตลาดโลกได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง
- การเปิดเผยข้อมูลด้านมาตรฐานของบริษัทข้ามชาติ
- มีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนา ICT จากต่างประเทศ
- ความต้องการด้านบริการโทรคมนาคมประเทศเพื่อนบ้านขยายตัว
- การใช้ประโยชน์จากการรวมตัวของอาเซียน
- ตลาดในประเทศใกล้เคียงมีโอกาสขยายตัวเพราะรายได้คนในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้น

อุปสรรค์ (Threats)
- การกีดกันทางการค้าในเวทีการค้าโลกด้วยมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี
- ความล่าช้าในการกำหนดมาตรฐาน ICT ของโลก
- ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อการถ่ายเททางวัฒนธรรมและการเงิน
- ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศในประเทศ (hacker cracker และ virus)
- นโยบายประเทศเพื่อนบ้านทำให้เกิดความได้เปรียบมากกว่าประเทศไทย
- การแข่งขันด้านการพัฒนา ICT ของประเทศเพื่อนบ้านก้าวหน้ากว่าไทย
- การพัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยีที่มีคุณภาพได้มากขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน
- ประเทศอื่นมีความก้าวหน้าและความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยี และการตลาด
- ภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ มีผลกระทบต่อการกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจ ICT
- นโยบายการค้าเสรีในตลาดโลก ทำให้เกิดการรุกรานทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว

3. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคอุตสาหกรรม (e-Industry)
การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในส่วนซอฟต์แวร์ ระบบโทรคมนาคมและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยให้มีศักยภาพ อีกทั้ง สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนากภาคการเกษตรและอถตสาหกรรมรวมถึงการสร้างบุคลากรในภาค อุตสาหกรรม

จุดแข็ง (Strength)
- เริ่มมีการผ่านกฎหมายด้าน ICT
- ภาครัฐและเอกชนไทย ได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเป็นอย่างมาก
- มีหน่วยงานระดับชาติดำเนินการ/สนับสนุนนวัตกรรมด้าน ICT
- คนไทยมีฝีมือประณีต ละเอียดอ่อน เป็นศักยภาพของการพัฒนาซอฟต์แวร์

จุดอ่อน (Weaknesses)
- การใช้จ่ายในการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย ฟุ่มเฟือย ไม่ได้ประโยชน์เต็มที่
- ขาดความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กับ SME และระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
- ขาดปัจจัยต่างๆ ที่จะสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา และการนำผลการวิจัยและพัฒนา ไปใช้ในเชิงพาณิชย์
- การกระจายโครงข่ายโทรคมนาคมไม่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเพียงพอ
- กฎหมายโดยรวมและกฎหมาย ICT ยังไม่ได้ปรับปรุงให้ครบถ้วนที่จะรองรับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี
- การผลิตอาศัยวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นหลัก ขาดการส่งเสริมอุตสาหกรรมต้นน้ำ
- นโยบายการลงทุน ICT ด้วยเงินร่วมทุนเบื้องต้น (Seed Money) และมาตรการส่งเสริมการลงทุนยังไม่เป็นรูปธรรม
- ผู้ผลิตขาดความรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของต่างประเทศ ขาดการประสานงานที่เป็นเครือข่ายทำให้การจัดซื้อปัจจัยต่างๆในการผลิตด้อยประสิทธิภาพ
- คนไทยไม่เชื่อถือและให้การสนับสนุนคนไทยทำโครงการขนาดใหญ่
- กระบวนการผลิต ICT ของไทยไม่ทันสมัย ทั้งด้านวิชาการ เครื่องมือการผลิต และขาดการให้ความสำคัญเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
- ยังมิได้จัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจแข่งขันเสรีที่เป็นธรรมด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- ขาดการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้บุคลากร ICT ของไทยให้ความสำคัญกับใบรับรองมาตรฐานคุณภาพ
- แหล่งเงินทุนภายในประเทศยังไม่ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนา ICT ในประเทศ

โอกาส (Opportunities)
- การขนส่งสินค้าโดยใช้ e-logistic มีการแข่งขันอย่างรุนแรงในตลาดโลก
- อุตสาหกรรมการสื่อสารแบบไร้สาย และ broadband ได้รับความนิยมอย่างสูง
- ผู้นำในภูมิภาคอาเซียนมีวิสัยทัศน์และเห็นความสำคัญของ ICT มากขึ้น
- การเป็นพันธมิตรกับประเทศผู้นำด้าน ICT จะสร้างโอกาสในการกำหนดมาตรฐานและข้อตกลงระหว่างประเทศ
- การเปิดเผยข้อมูลด้านมาตรฐานของบริษัทข้ามชาติ

อุปสรรค (Threats)
- ความเสียเปรียบในเวทีการแข่งขันระหว่างประเทศ ของอุตสาหกรรมไทยที่ยังไม่มีความเข้มแข็ง
- การเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศอินเดีย จีน ที่มีบุคลากรที่มีคุณภาพและค่าแรงต่ำ
- ความล่าช้าในการกำหนดมาตรฐาน ICT ของโลก

4. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการศึกษา (e-Education) เป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ ความสามารถในทุกระดับชั้น โดยเปิดโอกาสทางการเรียนรู้และส่งเสริมสนับสนุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ เครือข่ายการศึกษาและการสร้างฐานความรู้อีกทั้งยกระดับครูให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมความพร้อม ในการแข่งขันโลกปัจจุบัน

จุดแข็ง (Strengths)
- การขยายตัวของผู้ประกอบการ
- การจัดตั้ง CIO ของภาครัฐ
- ความตื่นตัวด้าน ITเพิ่มขึ้น
- การผลิตบุคลากร ITสายอาชีวศึกษา
- โครงสร้างพื้นฐานกายภาพที่ดี
- การพัฒนาโครงสร้างและหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน
- มีจำนวนผู้จบการการศึกษาระดับอาชีวศึกษามาก สามารถเป็นพื้นฐานผู้ใช้ ICT ที่มีคุณภาพ

จุดอ่อน (Weaknesses)
- ความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายโครงสร้างพื้นฐานสู่ชนบท
- ขาดข้อมูลและการบริหารจัดการฐานข้อมูล
- ความซ้ำ ซ้อนในการบริหารการลงทุน
- ขาดการประสานงานภาครัฐ
- ขาดการสนับสนุนด้านการตลาดจากภาครัฐ
- ขาดแคลนบุคลากรทักษะสูง
- ขาดกลไกการฝึกอบรมและหลักสูตรต่อเนื่อง
- หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน ยังไม่สนับสนุนให้เกิดการค้นคิดที่เอื้อต่อการวิจัยและพัฒนา
- พื้นฐานการศึกษาโดยเฉลี่ยของประชากรค่อนข้างต่ำ
- อัตราของคุณวุฒิอาจารย์ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และเอกไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
- การเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ บุคลากรสายวิชาชีพในการพัฒนาเป็นผู้ชำนาญการ ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
- ขาดแคลนเครื่องมือ ที่ทันสมัยและห้องปฏิบัติการมาตรฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการยังขาดความเชื่อมโยงและยังไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โอกาส (Opportunities)
- การขยายตัวทางเศรษฐกิจ แบบ Knowledge-Based Economyทำให้เกิดความต้องการบุคลากรที่มีความรู้และทักษะในวิชาชีพสูงโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- นโยบายภาครัฐต้องการสนับสนุนผู้ประกอบการพัฒนาธุรกิจแบบยั่งยืน ส่งผลให้สถานศึกษาต้องเข้าไปมีบทบาทในการสนับสนุนช่วยเหลือ
- ทัศนคติที่ดีของผู้นำ ต่อ ICT
- มีนโยบายและมาตรการ ICTที่ชัดเจน

อุปสรรค (Threats)
- การจัดการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำเป็นต้องมีอุปกรณ์และห้องปฏิบัติการที่เพียงพอและมีมาตรฐาน
- นโยบายการปรับลดของงบประมาณและภาวะวิกฤตเศรษฐกิจทำให้การพัฒนาและบำรุงรักษาอุปกรณ์และห้องปฏิบัติการ
- ขาดความต่อเนื่องและไม่ได้มาตรฐานทางการศึกษา
- นโยบายการปรับลดอัตรากำลังคนภาครัฐมีผลต่อการพัฒนาการศึกษา
- ความเข้าใจต่อประโยชน์ ICTทั่วไปยังน้อย
- หลักสูตรการศึกษาไม่เอื้อต่อทักษะ R&D
- ขาดนโยบายสนับสนุน R&D
- พื้นฐานการศึกษาของประชาชนอยู่ในระดับต่ำ

5. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคสังคม (e-Society) เพื่อให้ประชากรมีความเท่าเทียมในการเข้าถึงสารสนเทศและเมขีดความสามารถในการเรียนรู้ของชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และกรอบนโยบาย IT-2010 นำมาสู่แผนแม่บทการ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 เป็นแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี โดย ศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติกับคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและได้รับความเห็น ชอบจากคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในฐานะที่ผู้เขียนคลุกคลีอยู่ในวง การเทคโนโลยีก็ต้องขอแสดงความยินดีกับแผนแม่บทฉบับนี้โดยเฉพาะคณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้องเพราะมันเป็นแผน แม่บทที่กำหนดทิศทางในการพัฒนาปะรเทศ และกลยุทธ์ทั้ง 5 ด้านก็สอดคล้องกับแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เราจำเป็นต้อง เตรียมความพร้อมและมีแผนรองรับ ประการสำคัญเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นกลไกในการผลักดันให้ระบบการบรหาร และบริการขององค์การมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและบทบาทของประเทศไทยเวทีโลก แหล่งอ้างอิง

จุดแข็ง (Strengths)
- ภาครัฐและเอกชนไทย ได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเป็นอย่างมาก
- มีหน่วยงานระดับชาติดำเนินการ/สนับสนุนนวัตกรรมด้าน ICT
- มีการลงทุนนำ ICT มาใช้ในงานด้านต่างๆ มากขึ้น สามารถก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์พื้นฐาน

จุดอ่อน (Weaknesses)
- การกระจายโครงข่ายโทรคมนาคมไม่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเพียงพอ
- ข้อจำกัดด้านงบประมาณภาครัฐ
- ขาดกลไกการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง
- ยังมิได้จัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจแข่งขันเสรีที่เป็นธรรมด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- แหล่งเงินทุนภายในประเทศยังไม่ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนา ICT ในประเทศ

โอกาส (Opportunities)
- ผู้นำมีวิสัยทัศน์และเห็นความสำคัญของ ICT มากขึ้น
- เริ่มมีการผ่านกฎหมายด้าน ICT
- การพัฒนาประเทศไปสู่ knowledge-based society/economy (KBS/KBE)
- การเป็นสังคมเปิดของประเทศไทย

อุปสรรค (Threats)
- การจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับ ICT ไม่ตรงตามความต้องการใช้งาน และขาดทิศทางที่ชัดเจน
- ข้อจำกัดด้านงบประมาณภาครัฐ
- ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจและคุ้นเคยต่อ ICT



การกำหนดกลยุทธ์ (Strategies)



เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม ICT สู่ความเป็นเลิศในภูมิภาค

1. พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน
2. สร้างกลไกกระตุ้นการพัฒนา ICT
3. พัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ผลิตจากผู้ประกอบการในประเทศโดยใช้ตลาดภาครัฐเป็นตัวนำ
4. พัฒนาระบบติดตามผลการทำงานของ SIPA (สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ)
5. จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาบุคลากร ICT
6. พัฒนาทักษะผู้ประกอบการและผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทย
7. พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการซอฟต์แวร์
8. สนับสนุนให้มีศูนย์ทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ICT
9. สนับสนุนภาคเอกชนลงทุนในอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ต่อเนื่องซอฟต์แวร์
10. เร่งรัดการยกร่างกฎหมาย ICT


ใช้ ICT เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทย

1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายโทรคมนาคม
2. ให้ใช้ประโยชน์จากกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
3. ใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อพัฒนาการศึกษา การเรียนการสอน
4. ส่งเสริมการแปลหนังสือ เอกสาร จากภาษาต่างประเทศ
5. ส่งเสริมการพัฒนาข้อมูลและความรู้ในการครองชีพและยกระดับคุณภาพสังคมของชุมชน
6. ส่งเสริมบทบาทสื่อมวลชนในการเผยแพร่ความรู้ด้าน ICT
7. ส่งเสริมให้องค์กรส่วนท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
8. พัฒนาและเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์
9. สร้างความเชื่อมั่นต่อการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้

ปฏิรูปและสร้างศักยภาพการวิจัยและพัฒนา ICT

1.กำหนดนโยบายปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์
2. สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรสนใจที่จะประกอบอาชีพวิจัย
3. ให้ภาครัฐจัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินร่วมทุนเบื้องต้น (seed money) เพื่อสนับสนุนและจูงใจให้มีการลงทุน R&D ใน ICT
4. กำหนดกลยุทธ์การส่งเสริม R&D ด้าน ICT ของไทย
5. สนับสนุนการวิจัยคนคว้าเพื่อให้เกิดผลผลิตที่สามารถประยุกต์เป็นอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์
6. จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ
7. การติดตามรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้าน ICT เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา


ยกระดับศักยภาพพื้นฐานของสังคมไทยเพื่อการแข่งขันในอนาคต


1. สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของ ICT ผ่านทางเครือข่ายสถาบันการศึกษาของทุกภูมิภาคและชุมชน
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนผลิตอุปกรณ์ ICT ที่มีคุณภาพและราคาประหยัด
3. กระตุ้นให้สาธารณชนในวงกว้างเกิดความสนใจใน ICTและกิจกรรมอิเล็กทรอนิกส์
4. พัฒนาบุคลากรในวิชาชีพอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา ICT โดยทั่วไป

พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ เพื่อมุ่งขยายตลาดต่างประเทศให้กว้างขวางขึ้น

1. ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
2. ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมนำ ICT มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
3. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงานสำหรับการขยายตลาดไปยังตลาดต่างประเทศ
4. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้broadband internet


ส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมให้ใช้ ICT เพิ่มขึ้น


1. จัดให้มีกลไก วิธีการถ่ายทอดและดูดซับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและเหมาะสมให้แก่SMEs
2. สร้างแรงจูงใจให้เกิดกลุ่มพันธมิตร SMEs เพื่อจะร่วมกันนำ ICT ทั้งระบบมาใช้ประโยชน์ในการบริหารการจัดการธุรกิจ
3. เร่งส่งเสริมและพัฒนา e-Business
4. นำ ICT มาช่วยในการจัดการจัดการการทำธุรกิจ การสื่อสาร โดยเฉพาะการใช้supply chain management ในภาคอุตสาหกรรม
5. พัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของการนำICT ที่เกิดจากอุตสาหกรรมภายในประเทศมาใช้ในธุรกิจ
6. จัดทำฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนและการให้บริการ
7. พัฒนา SMEs Portal เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการ
8. เสริมสร้างให้เกิดความเป็น entrepreneurship


นำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการและการให้บริการของภาครัฐ


1. ให้มีกระทรวงที่รับผิดชอบการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินการด้าน ICT ของประเทศไทย
2. ปฏิรูปการบริหารและการจัดการของหน่วยงานภาครัฐ โดยจัดตั้งโครงสร้างส่วนงานสนับสนุน CIO ปรับกฎระเบียบและวิธีบริหารราชการเพื่อใช้ประโยชน์จาก ICT และจัดสรรงบประมาณในการพัฒนา ICT อย่างมีประสิทธิภาพ
3. พัฒนาฐานข้อมูลภาครัฐโดยกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวกับข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ทุกหน่วยงานแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างมีเอกภาพ
4. จัดให้มีระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ (GIS) เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การบริหารจัดการทรัพยากร และการป้องกันภัยพิบัติ
5. บริหารการใช้โครงข่ายสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย
6. พัฒนาบุคลากรภาครัฐ ทั้งด้าน ICT และด้านอื่นๆ รวมถึงการจัดตั้งสถาบัน e-Government สำหรับการพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน ICT
7. พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลเพื่อประเมินผลสำเร็จและวิเคราะห์ปัญหาการพัฒนา ICT ของประเทศ


ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่เรียกว่า "Digital Economy" ความสำคัญของ ICT มีผลต่อการพัฒนาประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง สังเกตจากประเทศสิงคโปร์ที่เน้นการนำ ICT มาเป็นอาวุธพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ในเมืองไทยก็มีคนสนใจความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศค่อนข้างมาก ทั้งคนไอทีเอง และคนที่เราเรียกว่า Non-IT ที่ไม่ได้จบมาทางไอทีโดยตรง แต่ต้องการเปลี่ยนสายอาชีพโดยหันมาทำงานด้านไอที เพื่อให้เข้ากับยุค Digital Economy ดังนั้น ภาครัฐจึงควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม โดยให้มีการฝึกอบรมด้านไอทีต่างๆ และเร่งดำเนินการจัดทำกลยุทธ์เพื่อให้แผน IT 2010 ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ อันจะช่วยให้การพัฒนาประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างแท้จริง


ประเด็นประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อบทบาทของผู้นำในยุคใหม่กล่าวได้ดังนี้

จากการวิเคราะห์ SWOT ข้างต้นแล้วนั้นทำให้เราทราบถึงประโยชน์ รวมถึงความเป็นไปได้แห่งการพัฒนาสารสนเทศที่จะเกิดขึ้นในบ้านเมืองเรา ดังนั้นผู้นำในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบที่จะนำมวลชนแห่งองค์กรที่ตนรับผิดชอบนั้นฝ่าวิกฤต อุปสรรค ให้ข้ามผ่านถึงวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากประโยชน์ที่จะได้รับจากสิ่งเหล่านี้มีอยู่มากมายนัก โดยอาจสรุปได้ดังนี้ค่ะ

1.ช่วยในการกำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดยุทธศาสตร์ กำหนดภาระกิจ และการวางแผนการปฏิบัติงานที่ที่สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่สลับซับซ้อนมากมายในปัจจุบัน

2 . ช่วยในการตัดสินใจที่จะต้องเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีที่น่าจะให้ผลลัพธ์ดีสุดและมีปัญหาน้อยที่สุด ตลอดจนสามารถพยากรณ์สถานการณ์และปัญหาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ อีกทั้งเมื่อหากมีปัญหาเกิดขึ้นจริงก็สามารถใช้สารสนเทศที่สมบูรณ์ ทันสมัย และครบถ้วนมาช่วยแก้ปัญหาได้อย่างฉับไวและทันการณ์

3. ช่วยในการดำเนินการ ควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานซึ่งควรจะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์และแผนงานต่าง ๆ ขององค์กรที่ผู้นำรับผิดชอบอยู่



ประเด็นประโยชน์ของระบบสารสนเทศสำหรับประชาชนและประเทศชาติ กล่าวสรุปได้ดังนี้

1. จะมีส่วนในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทำให้ความเป็นอยู่สะดวกสบายขึ้นเช่นในกรณีใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศหรือระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

2. ช่วยทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง

3. ช่วยสร้างและกระจายโอกาสในการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมผู้อยู่ในถิ่นกันดารก็มีโอกาสเหมือนคนที่อยู่อาศัยในเมือง อาจจะเรียนรู้หรือรับทราบข่าวคราวได้อย่างรวดเร็ว

4. ทำให้การอบรมมีประสิทธิภาพด้วยอุปกรณ์ประกอบการอบรมอย่างเช่น วีดีทัศน์ เครื่องฉายภาย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การคำนวณ การออกแบบต่างๆ

5. ช่วยในการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลที่เรียกว่า โทรมาตร

6. ช่วยในการป้องกันประเทศในแง่การป้องกันภัย การเฝ้าระวัง และตอบโต้การโจมตีจากข้าศึก

7. ช่วยในการผลิตในอุตสาหกรรมและการพาณิชยกรรม ช่วยประหยัดทรัพยากร ทำให้ต้นทุนในผลิตต่ำลงได้ง่ายขึ้น และสามารถทำให้การสั่งซื้อและส่งมอบสินค้าเป็นได้ง่ายและสะดวก

8. สารสนเทศอาจจะนำไปบูรณาการกับเทคโนโลยี่ด้านอื่น ๆ ได้อีกมาก เช่นกับนาโนเทคโนโลยี่ เพื่อผลิตสินค้าขนาดจิ๋วซึ่งต้องอาศัยความละเอียดละออและแม่นยำ การทำพืชและสัตว์จีเอ็มโอที่จะมีคุณภาพตามวัตถุประสงค์จำเพาะด้านเคมีและยา หรือการขยายพันธุ์ที่ต้องการจำนวนมาก ๆ ในเวลาอันสั้น


By Phatrsamon R.

No comments:

Post a Comment

Total Pageviews