.

Jan 6, 2010

พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535

ที่มา  www.kodmhai.com

:: พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535 มาตราที่ 1-12

:: พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2535 เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน
 มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535"
 มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2535 เป็นต้นไป
 มาตรา 3 ให้ยกเลิก
 (1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2518
 (2) คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 33 ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2519
 (3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2519
 (4) พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2520
 (5) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2520
 (6) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2521
 (7) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2522
 (8) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2531
 มาตรา 4 ข้าราชการการเมืองได้แก่บุคคลซึ่งรับราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมือง ดังต่อไปนี้
 (1) นายกรัฐมนตรี
 (2) รองนายกรัฐมนตรี
 (3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
 (4) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (5) รัฐมนตรีว่าการทบวง
 (6) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
 (7) รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง
 (8) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
 (9) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
 (10) ที่ปรึกษารัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (11) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
 (12) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
 (13) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (14) รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (15) เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (16) ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
 (17) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
 (18) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
 (19) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
 (20) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
 ข้าราชการการเมืองมิใช่รัฐมนตรีจะมีจำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชี ท้ายพระราชบัญญัตินี้
 มาตรา 5 ให้ถือว่าข้าราชการการเมืองเป็นข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน
 มาตรา 6 ให้ข้าราชการการเมืองได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการ การเมืองตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
 ให้ใช้บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมือง หมายเลข1 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2535 เป็นต้นไป
 การให้ใช้บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมือง บัญชีหมายเลข 2 บัญชีหมายเลข 3 บัญชีหมายเลข 4 หรือบัญชีหมายเลข 5 แต่ละบัญชี จะให้ใช้ ในลำดับถัดไปลำดับใดก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
 บทบัญญัติตาม มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2499 มิให้ใช้บังคับ แก่การรับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการการเมืองผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้
 ข้าราชการการเมืองซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาดังกล่าวแล้วไม่มี สิทธิได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัตินี้อีก
 การจ่ายเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งราชการการเมือง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ กระทรวงการคลังกำหนด
 มาตรา 7 การแต่งตั้งและการออกจากตำแหน่งของรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ
 มาตรา 8 การแต่งตั้งข้าราชการการเมืองตาม มาตรา 4 (8) (9) (11) (12) (13) (14) (15) (16) และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีให้นายกรัฐมนตรี ด้วยความเห็น ชอบของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมือง และเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะ เป็นข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัตินี้ได้
 การแต่งตั้งข้าราชการการเมืองตาม มาตรา 4 (17) (18) (19) (20) และที่ปรึกษารัฐ มนตรีให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผล ในทางการเมือง และเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการเมืองตามพระราชบัญญัตินี้ได้
 มาตรา 9 ผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่งอื่นนอกจากตำแหน่ง รัฐมนตรี ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
 (1) มีสัญชาติไทย
 (2) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
 (3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
 (4) ไม่เป็นคนไร้ความสมารถ ไม่เป็นผู้มีการทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
 (5) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
 (6) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
 (7)ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ
 (8) ไม่เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก จากรัฐวิสาหกิจ
 (9) ไม่เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตาม กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
 มาตรา 10 ข้าราชการการเมืองนอกจากตำแหน่งรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งเมื่อ
 (1) ตาย
 (2) ลาออก
 (3) ถูกสั่งให้ออก ไม่ว่าจะเป็นการออกโดยมีความผิดหรือไม่ก็ตาม
 (4) นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งออกจากตำแหน่ง
 (5) ขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 9
 มาตรา 11 ให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้า ราชการการเมือง พ.ศ. 2518 อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นข้าราช การเมืองตามพระราชบัญญัตินี้
 มาตรา 12 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

:: ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี

 *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง อัตราเงินเดือนข้าราชการเมืองให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และกำหนดจำนวน ตำแหน่งข้าราชการการเมืองให้ชัดเจน เพื่อช่วยในการปฏิบัติราชการของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
(ร.จ. เล่ม 109 ตอนที่ 35 หน้า 1 วันที่ 3 เมษายน 2535) บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือนและเงินเพิ่ม

สำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมือง หมายเลข 1 (หน่วย : บาท)
, ตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน เงินเพิ่ม รวม
 นายกรัฐมนตรี - 50,000 40,000 90,000
 รองนายกรัฐมนตรี - 48,000 38,000 86,000
 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรี
 ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 รือรัฐมนตรีว่าการทบวง - 45,000 36,000 81,000
 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง - 44,000 35,000 79,000
 เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 1 42,000 13,000 56,020
 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เท่ากับจำนวน
 ฝ่ายการเมือง รองนายกรัฐมนตรี+3 37,740 10,500 48,690
 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 5 38,870 10,820 49,690
 ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษา เท่ากับจำนวน
 รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำ รองนายกรัฐมนตรี
 สำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี 31,990 7,000 38,000
 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 1 31,990 7,000 38,000
 รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3 29,580 3,400 32,980
 ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 30 17,230 1,980 19,210
 เลขานุการรัฐมนตรีประจำ เท่ากับจำนวน สำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนัก นายก รัฐมนตรี 29,580 3,400 32,980
 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เท่ากับจำนวน หรือเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง กระทรวงหรือทบวง 29,580 3,4000 32,980
 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่ากร เท่ากับจำนวน กระทรวง หรือผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีว่าการทบวง กระทรวงหรือทบวง 26,620 3,060 29,680

บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือนและเงินเพิ่ม สำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมือง หมายเลข 2 (หน่วย : บาท)
ตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน เงินเพิ่ม รวม
 นายกรัฐมนตรี - 58,000 47,000 105,000
 รองนายกรัฐมนตรี - 55,000 44,500 99,500
 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรี
 ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการทบวง - 53,000 42,000 85,000
 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง - 52,000 41,000 93,000
 เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 1 48,200 18,500 66,020
 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เท่ากับจำนวน ฝ่ายการเมือง รองนายกรัฐมนตรี+3 42,780 14,500 57,280
 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 5 44,060 14,940 59,000
 ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษา เท่ากับจำนวน รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำ รองนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี 36,260 10,000 46,260
 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 1 36,260 10,000 46,260
 รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3 33,530 4,900 38,430
 ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 30 19,530 2,850 22,380
 เลขานุการรัฐมนตรีประจำ เท่ากับจำนวน สำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี 33,530 4,900 38,430
 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เท่ากับจำนวน หรือเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง กระทรวงหรือทบวง 33,530 4,900 38,430
 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่ากร เท่ากับจำนวน กระทรวง หรือผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีว่าการทบวง กระทรวงหรือทบวง 30,180 4,410 34,590

บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือนและเงินเพิ่ม สำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมือง หมายเลข 3 (หน่วย : บาท)
ตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน เงินเพิ่ม รวม
 นายกรัฐมนตรี - 67,000 53,000 120,000
 รองนายกรัฐมนตรี - 63,000 50,000 113,00
 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการทบวง - 61,000 48,500 109,500
 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง - 60,000 48,000 108,000
 เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 1 55,400 26,000 81,400
 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เท่ากับจำนวน ฝ่ายการเมือง รองนายกรัฐมนตรี+3 49,200 20,500 69,700
 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 5 50,680 21,110 71,790
 ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษา เท่ากับจำนวน รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำ รองนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี 41,630
 14,500 56,130
 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 1 41,630 14,500 56,130
 รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3 38,490 7,500 45,990
 ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 30 22,420 4,370 26,790
 เลขานุการรัฐมนตรีประจำ เท่ากับจำนวน สำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี 38,490 7,500 45,990
 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เท่ากับจำนวน หรือเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง กระทรวงหรือทบวง 38,490 7,500 45,990 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ เท่ากับจำนวน
 กระทรวง หรือผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีว่าการทบวง กระทรวงหรือทบวง 34,640 6,750 41,390

บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือนและเงินเพิ่ม สำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมือง หมายเลข 4 (หน่วย : บาท)
ตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน เงินเพิ่ม รวม
 นายกรัฐมนตรี - 75,000 60,000 135,000
 รองนายกรัฐมนตรี - 70,000 56,500 126,500
 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรี
 ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการทบวง - 69,000 55,000 124,000
 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง - 68,000 54,500 122,500
 เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 1 63,540 36,500 100,040
 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เท่ากับจำนวน ฝ่ายการเมือง รองนายกรัฐมนตรี+3 56,460 29,500 85,960
 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 5 58,150 30,390 88,540
 ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษา เท่ากับจำนวน รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำ รองนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี 47,810 21,500 69,310
 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 1 47,810 21,500 69,310
 รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3 44,200 11,200 55,400
 ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 30 25,740 6,530 32,270
 เลขานุการรัฐมนตรีประจำ เท่ากับจำนวน สำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี 44,200 11,200 55,400
 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เท่ากับจำนวน หรือเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง กระทรวงหรือทบวง 44,200 11,200 55,400 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ เท่ากับจำนวน
 กระทรวง หรือผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีว่าการทบวง กระทรวงหรือทบวง 39,780 10,080 49,860

บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือนและเงินเพิ่ม สำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมือง หมายเลข 5 (หน่วย : บาท)
ตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน เงินเพิ่ม รวม
 นายกรัฐมนตรี - 83,000 67,000 150,000
 รองนายกรัฐมนตรี - 78,000 62,000 140,000
 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการทบวง - 77,000 61,500 138,500 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
 รือรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง - 76,500 61,500 137,500
 เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 1 76,400 60,900 137,300
 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เท่ากับจำนวน ฝ่ายการเมือง รองนายกรัฐมนตรี+3 76,200 53,780 120,980
 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 5 69,220 55,380 124,600
 ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษา เท่ากับจำนวน รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี 53,610 42,890 96,500
 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 1 53,610 42,890 96,500
 รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3 50,790 17,890 68,690
 ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 30 59,580 10,420 40,000
 เลขานุการรัฐมนตรีประจำ เท่ากับจำนวน สำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี 50,790 17,890 68,680
 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เท่ากับจำนวน หรือเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง กระทรวงหรือทบวง 50,790 17,890 68,680
 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ เท่ากับจำนวน กระทรวง หรือผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีว่าการทบวง กระทรวงหรือทบวง 45,710 16,100 61,810
 

No comments:

Post a Comment

Total Pageviews