.

Jan 23, 2009

วิกฤตทุนนิยมเสรี... ไทยกำลังฝ่าโลกาภิวัตน์ไปทางไหน?



โดย ภัทรษมน รัตนางกูร

โลกแห่งยุคโลกาภิวัตน์เป็นการประสานโยงใยระหว่างกันของระบบเศรษฐกิจสังคมซึ่งเป็นการเกี่ยวพันธ์ระหว่างนานาประเทศ โดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพลังหลัก การลดต้นทุนธุรกรรม ต้นทุนการสื่อสารและต้นทุนแห่งการขนส่ง โดยเพื่อต้องการกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของสินค้า บริการ เงินทุน ผู้คน และทรัพยากรระหว่างประเทศในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในแต่ละวันระบบทุน นิยมในประเทศไทย นับว่ายังเป็นระบบที่ห่างไกลจากอุดมการณ์ทุนนิยมเสรี ถึงแม้เป้าหมายของระบบเศรษฐกิจจะเห็นว่าทุกๆระบบจะมีสิ่งที่เหมือนกันคือ “มุ่งจัดสรรและจัดการทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประสิทธิภาพและอรรถประโยชน์สูงสุดโดยมีการกระจายโอกาสและประโยชน์ให้กับคนในระบบอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม”

หากพิจารณากรณีเหตุฉ้อฉลเวิลด์คอม (World com) หรือเอ็นรอน (Enron) พบว่าได้มีการแก้ไขเหตุการณ์ดังกล่าวโดยทำการปรับปรุงแก้ไขที่ระบบธรรมาภิบาล (Corporate Governance) ระบบรายงาน รวมถึงระบบบัญชีต่างๆ โดยเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก ซึ่งในขณะที่กลไกแห่งกฎหมายและกลไกตลาดได้ทำหน้าที่ของตนในการลงโทษผู้กระทำ ผิด โดยที่หน่วยผลิตของกิจการทั่วไปยังคงสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ไม่ถึงขั้นติดขัดหยุดชะงัก จนทำให้เกิดความเสียหายต่อมูลค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจ


โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีประสบความสำเร็จกว่าระบบอื่นเมื่อเทียบกับระบบขุนนางศักดินา (Feudalism) ระบบสังคมนิยม (Socialism) หรือระบบคอมมิวนิสต์ (Communism) ทั้งนี้เนื่องจากระบบทุนนิยมเสรีนั้นมีการมุ่งเน้นดังต่อไปนี้

1. แรงจูงใจ เนื่องจากผู้ที่ทำมากย่อมก่อให้เกิดผลผลิตมากและได้รับรางวัลส่วนแบ่งมาก แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ทุกประเทศยังมีระบบภาษี และรัฐสวัสดิการ เพื่อนำผลิตผลส่วนหนึ่งไปให้บริการสาธารณะ สร้างโครงสร้างพื้นฐานสร้างกลไกตลาด ช่วยผู้ด้อยโอกาส เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล และทุนนิยมจะต้องพิทักษ์สิทธิในทรัพย์สินของปัจเจกบุคคล ทั้งทรัพย์สินที่จับต้องได้ และทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ อนุญาตให้คนสะสมความมั่งคั่งได้เพื่อสร้างแรงจูงใจ

2. ระบบกลไกตลาดทุนนิยมเสรีมีความเชื่อว่า ถ้าตลาดมีกลไกที่ดี มีกฎกติกาที่ดี มีข้อมูลข่าวสาร ตลาดจะสามารถจัดสรรและจัดการทรัพยากรให้เกิดสูงสุด


ลำดับวิวัฒนาการเศรษฐกิจทุนนิยม

1.เศรษฐกิจทุนนิยมยุคที่ 1

ส่วนในยุโรประบบทุนนิยมได้มีการพัฒนาเป็นระบบทุนนิยมแห่งรัฐเรียกว่าระบบ เศรษฐกิจแบบผสม โดยที่รัฐเข้าไปควบคุมแทรกแซงระบบตลาดหรือเป็นระบบทุนนิยมที่ถูกกำกับโดยรัฐ และด้านสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศกำลังพัฒนาก็เดินตามแนวทางสังคมนิยมหรือทุนนิยมที่เน้นอุตสาหกรรม ทดแทนการนำเข้าและกีดกันการค้า กระทั่งทุนนิยมแห่งรัฐในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกาประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ทศวรรษ 1970 ตามมาด้วยวิกฤตหนี้ต่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนาในทศวรรษ 1980 ท้ายสุดคือการล่มสลายของระบบสังคมนิยมในสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกในปี 1989-91 จึงเป็นการเริ่มต้นเปิดฉากโลกาภิวัตน์ต่อมาในยุคที่ 2

กรณีประเทศไทยการขับเคลื่อนแห่งระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีโดยการที่กระแสโลกาภิวัตน์ในยุคแรกเริ่มนั้นได้สิ้นสุดลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และในตอนนั้นทุนนิยมได้เข้าสู่ระยะวิกฤตเนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดการกีดกันทางการค้าและระบอบเผด็จการ ซึ่งทำให้ต่อมาสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชากรจำนวน 1 ใน 3 ของโลกจึงได้เคลื่อนสู่ระบบสังคมนิยม

2. เศรษฐกิจทุนนิยมยุคที่ 2

ได้ส่งผลให้เกิดความท้าทายต่อรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเพื่อมุ่งแสวงหาประโยชน์ในการแข่งขันอย่างเต็ม ที่ ดังนั้นการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วของเงินทุน สินค้า ทรัพยากร มนุษย์ และข่าวสารข้อมูลในปริมาณมหาศาล เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบเศรษฐกิจให้สามารถเผชิญกับการแข่งขันข้าม ชาติ รวมทั้งดำเนินมาตรการลดผลกระทบทางลบของโลกาภิวัตน์ ซึ่ง ทั้งหมดเป็นการดำเนินนโยบายปฏิรูประบบตลาด ลดการแทรกแซงของรัฐ เสริมสร้างระบบตลาดและการแข่งขัน และการปฏิรูประบบสวัสดิการประกันสังคม โดยมีประเทศที่ปฏิรูปเป็นในยุคแห่งการเริ่มต้น คือนิวซีแลนด์ และชิลี

การปฏิรูปเศรษฐกิจของอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เป็นแบบอย่างให้ประเทศทุนนิยมพัฒนาแล้วในยุโรป ซึ่ง ขณะเดียวกันประเทศเหล่านั้นก็ไม่ได้มีการเตรียมตัวรับมือกระแสแห่งโลกาภิวัต น์ และเมื่อระบบเศรษฐกิจเต็มไปด้วยการควบคุมแทรกแซงของรัฐ รัฐวิสาหกิจไม่มีประสิทธิภาพ ธุรกิจเอกชนมีการแบ่งปันผลประโยชน์กับข้าราชการและนักการเมือง เป็นธุรกิจผูกขาดไร้ซึ่งการแข่งขันเป็นเวลานานหลายสิบปี และเมื่อต้องเผชิญกับกระแสโลกาภิวัตน์ อาทิการแข่งขันจากต่างประเทศ เงินทุนไหลเข้าออกอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบเศรษฐกิจเหล่านี้ต้องเผชิญภาวะวิกฤตรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมหนี้สินต่างประเทศ ธุรกิจล้มละลาย เป็นลูกหนี้เสียในระบบธนาคาร มีหนี้สาธารณะท่วมท้น โดยตัวอย่างคือประเทศเม็กซิโก บราซิล อาร์เจนตินา โบลิเวีย เปรู ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศไทย

กรณีประเทศไทยจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ที่ เกิดขึ้นเป็นการสื่อให้เห็นว่าไทยมี ระบบเศรษฐกิจการเมืองที่อ่อนแอและล้าหลังเป็นอย่างยิ่ง เมื่อถึงเวลาที่กระแสโลกาภิวัตน์ได้ทำการเปิดโปงให้เห็นถึงความผิดพลาดล้ม เหลวอย่างสิ้นเชิงของระบอบอำนาจนิยมแฝงเร้นที่เป็นพันธมิตรของชนชั้นขุนนาง กลุ่มทุนขุนนาง และทุนภูธรในการปกครองบริหารประเทศ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองเพื่อจำกัดอำนาจชน ชั้นขุนนางและนำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตยของปวงชน และจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ได้ เป็นมูลเหตุแห่งการเปลี่ยนดุลอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มทุนเก่ากับกลุ่ม ทุนใหม่เกิดขึ้น กล่าวคือธนาคารพาณิชย์ ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากวิกฤตเศรษฐกิจ ขณะที่กลุ่มทุนใหม่ได้รับความเสียหายน้อยกว่ามาก ส่วนรัฐธรรมนูญใหม่ก็ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจทางการเมืองด้วย การให้มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่มีวินัยพรรคสูง สามารถกำกับพฤติกรรมของนักการเมืองและกลุ่มการเมืองในพรรคได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทำให้รัฐสภามีเสถียรภาพและรัฐบาลมีความมั่นคง ซึ่งในขณะนี้เองที่นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งได้มีดุลอำนาจเหนือชน ชั้นขุนนางได้เป็นครั้งแรก สามารถดำเนินนโยบายบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นอิสระจากชนชั้น ขุนนาง เปิดโอกาสให้กลุ่มทุนใหม่ซึ่งมีพรรคไทยรักไทยเป็นตัวแทนได้เข้าสู่อำนาจผ่าน การเลือกตั้งทั่วไปปี 2544 และมีการจัดตั้งรัฐบาลที่เข้มแข็งดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจในการบริหารประเทศ และ ทำการกำกับให้ระบบราชการดำเนินตามมาตรการของพรรคไทยรักไทย โดยเหตุนี้เสมือนผลักไสชนชั้นขุนนางให้ถอยอำนาจเก่าออกไป โดยนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยรักไทยมีสองด้านคือ ด้านหนึ่ง ดำเนินมาตรการประชานิยมที่แจกจ่ายผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนชั้นล่างทั้งใน เมืองและชนบท เช่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กองทุนหมู่บ้าน โครงการสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท รักษาทุกโรค) ธนาคารประชาชน ปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล ทุนการศึกษาจากกองทุนหวยบนดิน การแปลงทรัพย์สินเป็นทุนทั้งหมดนี้มีผลสะเทือนทางการเมืองอย่างถึงราก บั่นทอนความสัมพันธ์เชิงพึ่งพาที่ประชาชนชั้นล่างมีมายาวนานต่อนักการเมือง ท้องถิ่น กลุ่มอิทธิพล และทุนภูธร ทำให้ประชาชนชั้นล่างเข้าใจได้เป็นครั้งแรกว่า ประชาธิปไตยอาจให้ประโยชน์แก่พวกเขาได้จริง ผลก็คือ ชนชั้นล่างทั้งในเมืองและชนบทได้เกิดความตื่นตัวทางการเมืองอย่างไม่เคยเป็น มาก่อนและกลายเป็นฐานพลังที่เข้มแข็งและสำคัญที่สุดของประชาธิปไตย

ในอีกด้านหนึ่งกลุ่มทุนใหม่ที่มีพรรคไทยรักไทยเป็นตัวแทนก็ดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ มุ่งผลักดันให้ระบบทุนนิยมไทยก้าวเข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์อย่างเต็มที่ เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เปิดเสรีการค้าและการลงทุน จัดทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ทยอยลดอัตราภาษีศุลกากร ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ปฏิรูปกฎหมายและระบบราชการ ปฏิรูปการศึกษา และลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ทั้งระบบ เป็นต้น ให้เศรษฐกิจไทยมีการปฏิรูปโครงสร้าง ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและเติบโตได้ในระบบโลกาภิวัตน์ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการไหลเวียนของสินค้าและเงินทุนจำนวนมหาศาล

นโยบายดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนดุลทางชนชั้นครั้งใหญ่ ชนชั้นล่างทั้งในเมืองและชนบทเกิดการตื่นตัวทางการเมืองที่สนับสนุน ประชาธิปไตยอย่างแข็งขัน โดยกลุ่มทุนใหม่ที่มีพรรคไทยรักไทยเข้มแข็งและเติบโตขึ้น มีพลังทั้งทางด้านเงินทุน เทคโนโลยีใหม่ๆและกลายเป็นอำนาจใหม่ที่บั่นทอนอำนาจของชนชั้นขุนนางลงเรื่อย ๆ และไม่นานต่อมาได้เกิดกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่รวมตัวต่อต้านและปฏิเสธโลกาภิวัต น์ โดยปริยาย เขาคัดค้านนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจทุนนิยมของรัฐบาลไทยรักไทยและตระหนักว่าระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองทำให้สถานะอภิสิทธิ์ชน ในสังคมและอำนาจต่อรองทางการเมืองของพวกตนถูกบั่นทอน เขาไม่เห็นด้วยกับนโยบายประชานิยมอย่างรุนแรง เกลียดชังการโอนย้ายทรัพยากรและงบประมาณจากส่วนกลางไปยังประชาชนชั้นล่าง ทั้งในเมืองและชนบททั่วประเทศ และส่งผลให้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มพันธมิตรอำนาจนิยม ซึ่งมีแนวร่วมแฝงคือชนชั้นขุนนาง กลุ่มทุนเก่า และปัญญาชนชั้นกลางบางส่วนในเมือง เพื่อล้มการเลือกตั้ง โค่นล้มผู้นำรัฐบาลไทยรักไทย ฉีกรัฐธรรมนูญ จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แก้ไขดุลอำนาจให้กลับไปสู่ระบอบอำนาจนิยมแฝงเร้นซึ่งชนชั้นขุนนางและกลุ่ม ทุนขุนนางกุมอำนาจรัฐ มีพรรคการเมือง การเลือกตั้ง และรัฐสภา แต่รัฐบาลอ่อนแอ ถูกควบคุมด้วยอำนาจของชนชั้นขุนนางในราชการ และพยายามขัดขวางยุตินโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ เลือกข้างให้เศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในระบบทุนนิยมขุนนาง ซึ่งความเป็นขวาจัดทางการเมืองของพวกเขาก็ได้สื่อผ่านโดยใช้สถาบันจารีต ประเพณีเป็นเครื่องมือ กุ ข่าว สร้างเรื่องเท็จ ปลุกปั่นให้คนเกิดอารมณ์ความเกลียดชังอย่างสุดขั้วสุดฝา ผสมสียั่วยุให้เกิดความรุนแรงระหว่างกลุ่มมวลชน เรียกร้องให้มีการยึดอำนาจรัฐประหาร ซึ่งขบวนการเหล่านี้มีลักษณะเดียวกันกับพวกขวาจัด 6 ตุลาคม 2519


นโยบายคู่ขนาน (Dual Track Policy)

มาดูนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยในตอนนั้นกันค่ะ ซึ่งนับเป็นนโยบายแบบชัดเจนที่เกี่ยวกับ Dual Track Policy หรือนโยบายคู่ขนาน โดยมีแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์เปรูที่มีชื่อเสียงมากชื่อ เดอ ซาโต ที่กล่าวไว้ว่า

1. เน้นเศรษฐกิจทุนนิยมคือทั้งค้าขายกับต่างประเทศ และเน้นการลงทุน ซึ่งเป็นไปตามหลักการเพิ่มผลผลิตมวลรวมของประเทศ (GDP)

2. เน้นด้านการใช้จ่ายเงินของประชาชน คือ Consumption และการลงทุนในระดับย่อย แบบบริษัทขนาดกลางและเล็ก (Small and Medium Enterprise) หรือ SME เนื่อง จากที่ผ่านมา ปี 2540 ไทยเจอบทเรียนเดียวกับประเทศในอเมริกาใต้ คือพึ่งพาการลงทุน และการกู้ยืมจากต่างประเทศมากเกินไป พอถึงเวลาที่ความเชื่อมั่นหาย ทุกอย่างก็พังพินาศ ทำให้ไทยเจอวิกฤติการณ์ค่าเงินบาท คืออุปสงค์ (Demand) ของค่าเงินบาทน้อยกว่า อุปทาน (Supply) เยอะมาก ราคาซื้อขายเลยกราวรูดลงไปจาก 25 บาท เป็น 56 บาท ในปี 2540

จากการที่กลุ่มทุนใหม่และพรรคไทยรักไทยยังคงมีการเชื่อมโยงลักษณะผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ กับอำนาจทางการเมือง กับเครือข่ายทุนขุนนาง สิ่งนี้จึงได้กลายเป็นจุดอ่อนทางการเมืองในการต่อสู้กับพันธมิตรอำนาจนิยม ซึ่งเป็นการสื่อถึงเศรษฐกิจการเมืองไทยที่จัดว่าเป็นการต่อสู้ทางชนชั้น ระหว่างพันธมิตรอำนาจนิยมของชนชั้นขุนนาง กลุ่มทุนขุนนาง และปัญญาชนชั้นกลางบางส่วนในเมืองด้านหนึ่ง กับกลุ่มทุนใหม่ที่มีพรรคไทยรักไทยเป็นตัวแทนและมีฐานพลังการเมืองที่ชนชั้น ล่างในเมืองและชนบท อีกทั้งยังเป็นการต่อสู้สองแนวทางระหว่างระบอบอำนาจนิยมกับระบอบประชาธิปไตย ระหว่างระบบทุนนิยมขุนนางกับระบบทุนนิยมปฏิรูปโลกาภิวัตน์

การแบ่งแยกความคิดทางการเมืองแบบซ้าย-ขวาไม่ได้เกิดขึ้นมานานนักในสังคมไทยโดย ต้นกำเนิดความคิดมาจากยุโรป เริ่มเดิมทีก็แค่การเลือกที่นั่งในสภาเท่านั้น เริ่มจากในประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ตอน ที่ฝรั่งเศสยังมีกษัตริย์ ขุนนางที่นั่งทางขวาของกษัตริย์เวลาประชุมมักเป็นพวกนิยมเจ้า อนุรักษนิยมไม่ค่อยชอบเปลี่ยนแปลงอะไรที่ขัดกับจารีตประเพณี ในขณะที่พวกที่นั่งข้างซ้ายมักจะเป็นฝ่ายค้านที่มีความคิดแบบราดิคัลชอบการเปลี่ยนแปลงในที่สุดการจัดที่นั่งในสภานิติบัญญัติในเวลาต่อมาเลยนิยมจัดแบบนี้เป็นแม่ แบบไป

ยุคเริ่มแรกฝ่ายขวาในยุโรปมักจะเป็นพวกขุนนางพวกนิยมเจ้า หรือพวกนิยมและรักษาผลประโยชน์ชนชั้นสูง ในขณะที่ฝ่ายซ้ายก็เป็นตรงกันข้ามกล่าวคือนิยมความคิดแบบเสรี หรือหากพูดให้ตรงก็คือสนับสนุนทุนนิยมเสรี (laissezfaire) และตลาดเสรี แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 19 เกิด ความคิดสังคมนิยมขึ้นมา พวกฝ่ายซ้ายหันไปนิยมแนวคิดนี้แล้วละทิ้งความคิดทุนนิยมเสรีให้ไปอยู่ฝั่ง ขวา เพราะในเวลานั้นพวกขุนนางหายไปการพิจารณาทิศทางการเมืองเรื่องซ้าย-ขวาใน บริบทของสังคมไทยไม่ง่ายนักเพราะความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองของผู้เล่นไม่ค่อยมั่นคงหรือคงเส้นคงวาส่วนใหญ่แล้วมักจะแปรผันไปตามผลประโยชน์ทางการ เมืองเฉพาะหน้า คนที่เคยเป็นซ้ายย้ายไปอยู่ข้างขวา ส่วนคนที่เคยอยู่ซีกขวาหันไปจับมือกับคนที่เคยเป็นซ้าย นานวันเข้าเราก็แยกแยะไม่ออกว่าใครซ้ายใครขวา ในประเทศอื่นเราอาจจะไม่ค่อยเห็นเรื่องแบบนี้ แต่ในประเทศไทยเป็นสิ่งประหลาดและมันก็เกิดขึ้นแล้วที่อยู่มาวันหนึ่งอดีต นายกฯ นายสมัคร สุนทรเวช นักการเมืองอนุรักษนิยมขวาจัดคนสำคัญ กลายมาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนที่แกนนำสำคัญส่วนหนึ่งเป็นอดีตแนวรวมพรรค คอมมิวนิสต์ และในทำนองเดียวกัน อดีตแนวร่วมคอมมิวนิสต์อีกเหมือนกันที่ไปยืนอยู่กับพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยซึ่งมีแกนนำสำคัญเป็นพวกนิยมเจ้า ทั้งสองฝ่ายต่างเสนอแนวคิดทางการเมืองที่มีความโน้มเอียงไปทางซ้ายและขวาพอๆ กัน ต่างฝ่ายต่างเลือกใช้กลยุทธ์ในการต่อสู้ทางการเมืองของทั้งซ้ายและขวามาห้ำหั่นกันอย่างเอาเป็นเอาตาย

ฉะนั้นจะเห็นว่าหากจะถือเอาตัวบุคคลเป็นหลักนั้นค่อนข้างทำยากและสับสนไม่น้อยว่าการเมืองแบบซ้ายและขวาในสังคมไทยว่าเป็นอย่างไรกันแน่ แต่ขณะเดี่ยวกันหากจับจุดพิจารณากันที่ความคิดทางการเมืองจะทำให้เรามองเห็นได้ชัดเจนมากกว่า โดยในบริบทของสังคมไทยโดยทั่วไปมักจะถือว่าความคิดอนุรักษนิยมเป็นความคิดทางการเมืองที่อยู่ซีกขวา ความคิดที่ก้าวหน้ากว่านั้นจะอยู่ซีกซ้าย แนวคิดการเมืองแบบอนุรักษนิยมเป็นแนวคิดที่นิยมการรักษาสถานะเดิม ดังนั้นจึงมักแอบอิงอยู่กับสถาบันดั้งเดิมเป็นสำคัญ ซึ่งก็คือสถาบันกษัตริย์เป็นแก่นสารทางอุดมการณ์เพราะสถาบันนี้เป็นสถาบันที่เป็นศูนย์กลางทางการเมืองการปกครองมานานในสังคม ไทยโดยเชื่อมโยงสถาบันกษัตริย์กับสถาบันราชการและกองทัพเข้ามาอยู่ด้วยกัน พวกอนุรักษนิยมจะมองว่าสถาบันหลักเหล่านี้เท่านั้นที่เป็นหลักให้แก่บ้านเมืองเรื่องชาติก็มักจะถูกผูกโยงเข้ากับสถาบันหลักเหล่านี้ พวกอนุรักษนิยมฝ่ายขวาจึงถือสิทธิว่าพวกตนรักชาติมากกว่าใคร และนิยมเอาลักษณะชาตินิยมในความหมายแคบๆ มาเป็นเครื่องมือในทางการเมืองเพื่อต่อต้านฝ่ายตรงข้ามด้วย และที่เป็นที่นิยมยอดฮิตใช้มากทุกยุคทุกสมัยคือการกล่าวหาคนที่ไม่คล้อยตามพวกเขาในทางการเมืองว่าเป็นพวกไม่จงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ ไม่รักชาติ หรือถ้าถึงที่สุดแล้วในหลายกรณีพวกเขาจะพูดว่าพวกที่อยู่ตรงกันข้ามกับเขาไม่ใช่คนไทย

พวกอนุรักษนิยมไม่สู้จะไว้วางใจสถาบันการเมืองของประชาชนเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาในรูปของพรรคการเมือง เพราะเห็นว่าสถาบันการเมืองของประชาชนมักต้องการอำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้องและความคิดทางเศรษฐกิจของอนุรักษนิยมไทยไม่ใช่ความคิดที่นิยม เศรษฐกิจเสรี พวกเขาชื่นชมเศรษฐกิจที่กระจุกตัวอยู่กับกลุ่มทุนไม่กี่กลุ่มที่เติบโตมากับ ราชการและรัฐวิสาหกิจ มากกว่าจะส่งเสริมเศรษฐกิจเสรีแบบสุดขั้วที่เปิดให้คนหลากกลุ่ม (แม้แต่ต่างชาติ) เข้ามามีส่วนร่วมกันอย่างกว้างขวาง การต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อรักษากิจการของรัฐ (หรือที่พวกเขาเรียกว่าสมบัติของชาติ) เหล่านี้ให้อยู่ในมือราชการหรือการบริหารของราชการต่อไปจึงฟังดูเป็นเหตุผลของพวกอนุรักษนิยมมากกว่าจะเป็นเหตุผลของฝ่ายก้าวหน้าที่เคยต่อต้านทุนนิยม ในยุคที่กระแสสังคมนิยมขึ้นสูงนั่นเอง

ในขณะที่การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศภายใต้เงื่อนไขแห่งปัญหาเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ประสบการณ์ถือเป็นสิ่งจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ดิฉันคิดว่ารัฐบาลควรต้องรับฟังเสียงของประชาชนและนักวิชาการด้วย ถึง แม้ว่าผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจจะใช้ทฤษฎีเป็นเครื่องนำทาง ในการช่วยลดความเสี่ยงอยู่ก่อนแล้วก็ตาม เนื่องจากประเด็นความสำคัญแห่งผลที่จะตามมานั้น หากผิดพลาดก็ด้วยเหตุผลเดียวเท่านั้น คือสาเหตุจากการดำเนินนโยบายทางการเมืองตามแรงจูงใจของตน ที่ไร้สำนึก ไร้คุณธรรม-จริยธรรมที่นักการเมืองพึงมี


โดยจากสภาวการณ์ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีที่เกิดขึ้นอาจนำบริบทของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเคนส์ Keynesian และทฤษฎีขบวนการทางสังคมใหม่ (New Social Movement –NSM) มาช่วยในการอธิบายได้ดังนี้


1. ทฤษฎีเศรษฐศาสตของเคนส์ Keynesian

จากภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตกช่วงต้นทศวรรษ 1920 ซึ่งติดตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่ของโลกช่วงปี ค.ศ.1929-1933 เป็นประสบการณ์ใหม่ของรัฐในยุคนั้น เคนส์ (Keynes) ได้ ปฏิรูปความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เป็นจริง จนกระทั่งเป็นที่มาของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน

แนวคิดดั้งเดิมที่ปล่อยให้กลไกตลาดแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำโดยลำพัง และเสนอให้รัฐเข้ามามีบทบาทจริงจังในการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือคนว่าง งาน ความคิดของเคนส์ กลายเป็นทั้งเหตุผลและความหวังที่รัฐจะต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยอาศัยนโยบายการเงิน-การคลังซึ่งดูเหมือนจะกลายเป็น "สูตรสำเร็จ" ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจทั้งในญี่ปุ่น ไทย ตลอดจนสหรัฐอเมริกา

จากการที่เคนส์นอกจากจะเป็นอัจฉริยะบุคคลแล้ว เขายังเป็นนักคิดเป็นนักมนุษยธรรมผู้ไม่ยอมทนเพิกเฉยต่อความทุกข์ร้อนของประชาชน โดยเขาได้ชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของแนวทางดั้งเดิม และความล้มเหลวของกลไกตลาดในการขจัดภาวการณ์ว่างงานขนานใหญ่ โดยเห็นว่าถ้ารัฐไม่ดำเนินการเชิงรุก ย่อมทำให้สถานการณ์ที่แย่อยู่แล้วนั้นทรุดหนักลงไปอีก ด้วยเหตุนี้เขาจึงเห็นว่า การเข้ามากระตุ้นอุปสงค์รวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐ จึงเป็นแนวทางสำคัญ ขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดของแนวทางแบบเคนส์เกิดขึ้นควบคู่ด้วยเนื่องจากงบประมาณที่เกินดุลมาไม่กี่ปีจะเริ่มเข้าสู่ภาวะขาดดุลอย่างรวด เร็วตามภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายทางการทหารและการรักษาความปลอดภัย ส่วนนโยบายการเงินก็กำลังเข้าสู่ภาวะกับดักสภาพคล่องที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ใน ระดับที่ต่ำมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

กรณีประเทศไทยการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยงบประมาณของภาครัฐ กำลังเป็นความหวังจากประชาชน แต่รัฐเองไม่ได้มีการบอกถึงข้อดี - ข้อเสียของนโยบายดังกล่าว และรวมถึงไม่ได้มีการบอกว่านี่คือนโยบายเฉพาะหน้าที่จะให้ผลบวกในระยะสั้น เท่านั้น และขณะเดียวกันอาจทำให้เศรษฐกิจระยะยาวชะลอตัวหรืออ่อนแอลงด้วย ตัวอย่างจากนโยบายสำคัญเช่น นโยบายควบคุมราคาบริการสาธารณสุข นโยบายเงินกู้สำหรับกองทุนหมู่บ้านและนโยบายพักการชำระหนี้เกษตรกร เหล่านี้ไม่ใช่นโยบายที่จะมีผลชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นนโยบายที่ก้าวถอยหลังแล้ว ยังจะสร้างภาระในการเสียภาษีของประชาชนในอนาคตด้วย จากกรณีตัวอย่าง โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค รัฐต้องจัดสรรงบประมาณรายจ่ายในปี 2546 มูลค่าสูงถึง 55,700 ล้านบาท


"ประชาชน จำนวนมากเชื่อว่า ในอนาคตเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นในขณะที่มีการกล่าวน้อยมากถึงความจำเป็นที่จะ ต้องปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ในทางโครงสร้าง”


จากคำกล่าวด้านบนอธิบายได้ว่าอุปสงค์รวมที่อยู่ในระดับต่ำมีสาเหตุสำคัญมาจากการที่เศรษฐกิจไทยในอดีตเติบโตโดยอาศัยการก่อหนี้ ทำให้การประหยัดรายจ่ายของประชาชนเป็นการปรับตัวทางธรรมชาติ และเป็นแนวทางที่จำเป็น ประเทศไทยจึงต้องมุ่งสร้างแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพสูง มีเกณฑ์ทางการคลังที่ชัดเจน และหวังผลได้จริงในทางเศรษฐกิจ นโยบาย การกระตุ้นรายจ่ายที่ทำกันอยู่ เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณ และสะท้อนความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปว่า ปัญหาเศรษฐกิจมีสาเหตุหลักมาจากอุปสงค์ต่ำ เหมือนกับที่เคนส์วินิจฉัยไว้เมื่อประมาณ 70 กว่าปีก่อน ซึ่งหากพิจารณาในยุคของเคนส์นั้น รายจ่ายภาค รัฐมีขนาดเล็กมากและอังกฤษเองก็ได้ดำเนินนโยบายเพิ่มค่าเงินปอนด์ และชะลอรายจ่ายอยู่ก่อนหน้านั้น ดังนั้นภาวะตกต่ำของอุปสงค์รวมจึงเป็นประเด็นใหญ่ ดิฉันเห็นว่ากรณีประเทศไทยรัฐบาลควรคิดอย่างเคนส์ แต่ควรคิดมุ่งเน้นปฏิรูปเศรษฐกิจให้มีประสิทธิผลมากขึ้น รัฐควรยกเลิกหรือเบนเข็มนโยบายที่มุ่งแต่หวังผลทางการเมืองโดยขาดความรับผิดชอบ ทางเศรษฐกิจ รัฐบาลควรต้องแสดงความรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวด้วย เนื่องจากกระทั่งทฤษฎีของเขายังต้องมีข้อจำกัดในเชิงทฤษฎี

ข้อจำกัดเชิงทฤษฎีของ Early Keynesian 4 ประการ

1.ตามทฤษฎีของเคนส์ ต้นทุนของนโยบายการคลังมีน้อยมาก และรายจ่ายภาครัฐจะช่วยเสริมรายจ่ายของภาคเอกชนที่อยู่ในระดับต่ำ แต่ปัจจุบันภาคเอกชนรู้ดีว่าภาครัฐไม่ได้เข้มแข็งจริง และไม่สามารถใช้นโยบายดังกล่าวได้นานเพียงพอโดยไม่นำไปสู่ปัญหา ทว่ากลับลงเอยด้วยการเก็บภาษีเพิ่ม ดังนั้น ภาคเอกชนจะรัดเข็มขัดมากขึ้น แม้ว่ารัฐจะทำตัวตรงกันข้าม

2.ในทางทฤษฎีของเคนส์ ไม่มีความเสี่ยงจากความอ่อนแอทางการคลัง แต่ปัจจุบัน ความอ่อนแอของภาครัฐนำไปสู่ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และสร้างความอ่อนแอให้แก่ภาคเอกชนเมื่อเศรษฐกิจโลกต้องเข้าสู่ระยะของการ ฟื้นตัว โดยวิกฤติเศรษฐกิจละตินอเมริกาภายหลังวิกฤตการณ์น้ำมันโลกครั้งที่สองเป็นบท เรียนที่สำคัญมาก

3.นโยบายการคลังแบบเคนส์เซี่ยน เหมาะสำหรับปัญหาวัฏจักรธุรกิจระยะสั้น มิใช่ปัญหาภาวะถดถอยระยะยาว หรือที่เกิดจากสาเหตุอื่น นโยบายการคลังจึงต้องหวังผลด้านการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ และหลีกเลี่ยงโครงการที่สูญเปล่าในทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะเป็นที่นิยมจากฐานเสียงก็ตาม

3.ในยุคปัจจุบันภาคเอกชนมีความรู้มากขึ้นกว่าในยุคของเคนส์มาก และการแข่งขันทางเศรษฐกิจมีความเข้มข้นและซับซ้อน ทำให้นโยบายการคลังที่เน้นการใช้เม็ดเงินอัดฉีดเข้าระบบยากที่จะมี ประสิทธิภาพ เนื่องจากค่าตัวทวี และค่าตัวแร่งในทางเศรษฐศาสตร์นั้นทำงานผิดปกติจึงทำให้มีค่าต่ำมาก โดยธรรมชาติของแนวทางสำนักเคนส์เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น เป็นเพียงกลไกในการปรับเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจ โดยคาดหวังผลย้อนกลับใน 1-2 ปี เท่านั้น แต่หากเศรษฐกิจซึมยาว การยึดตามแนวทางนี้อย่างต่อเนื่องมีแต่จะสร้างปัญหาตามมา การทุ่มเงินเพื่อสร้างสาธารณูปโภคหรือโครงการใหญ่ อาจทำให้เกิดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่าเงินที่ภาครัฐทุ่มเทลงไปในลักษณะ เพิ่มพูนการก่อหนี้ให้คนในระดับรากหญ้า และมีความจำเป็นต้องเลือกโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่มีผลต่อการวาง กลยุทธ์ของประเทศ เช่น กรณีสนามบินหนองงูเห่า เพราะจะเกิดประโยชน์ทำให้เศรษฐกิจเข้มแข็งใน 3-4 ปีข้างหน้า


ประพจน์โดยสรุปทฤษฎีของเคนส์กล่าวได้ดังนี้

หลักการของเคนส์ (John Maynard Keynes) ที่คิดขึ้นมาราวทศวรรษ 1930 ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นมาจากการสวนแนวคิดของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่ให้กลไกตลาดเป็นตัวกำหนดกติกาในการแข่งขัน ใครมีทุนยาวเอาเปรียบคนอื่นได้มากกว่าก็มีโอกาสชนะสูง สรุป คือให้กลไกตลาดสร้างให้เศรษฐกิจให้มันโตเองสนใจแต่ผลรวมทั้งหมดที่บรรทัดสุดท้าย ไม่สนใจการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เลยทำให้ยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งลำบาก เพราะว่าตัวเลข GDP ที่บวมคือค่ามวลรวมทั้งประเทศและแน่นอนว่า GDP รวมทำให้เงินเฟ้อไปด้วย คนที่อยู่ในสังคมก็ต้องวิ่งหนีค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นในทุกวิถีทาง ช่วง เวลานั้นเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษ ตกสะเก็ดอย่างแรง มีคนตกงานมหาศาล เคนส์ จึงมีแนวคิดว่ารัฐบาลควรกระโดดเข้ามาช่วยเหลือ ผ่านงบประมาณรายจ่ายของรัฐตามโครงการลงทุนต่างๆ ที่ช่วยให้เกิดการจ้างงานแบบทอดๆ ไป ถ้ารัฐบาลใช้เงินมากกว่าภาษีที่เก็บได้ เราก็เรียกว่างบประมาณแบบขาดดุล (Deficit) ถ้าใช้น้อยกว่าที่เก็บภาษีได้ ก็เรียกว่างบประมาณแบบเกินดุล (Surplus)

จะเห็นว่าการแทรกแซงเศรษฐกิจของรัฐบาลอังกฤษในยุคนั้นตามหลักของเคนส์สามารถทำได้โดยไม่เกิดอันตรายมาก เพราะมีสัดส่วนที่น้อยกว่าตัวแปรอื่นๆ ในสมการ GDP ซึ่งเคนส์บอกว่าการแทรกแซงของรัฐ ทำได้ในระยะสั้นไม่เกินสามปี เพราะเปรียบเป็นแค่ยาชา พอยาชาหมดฤทธิ์ คนไข้ก็เดินไม่ได้อยู่ดี และกรณีที่ได้เกิดกลุ่มอนุรักษ์นิยมในประเทศไทยรวมตัวต่อต้านและปฏิเสธโลกาภิวัตน์ ด้วย การคัดค้านนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจทุนนิยมของรัฐบาลไทยรักไทย บนพื้นฐานแห่งความคิดว่า ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองทำให้สถานะอภิสิทธิ์ชน ในสังคมและอำนาจต่อรองทางการเมืองของพวกตนถูกบั่นทอน โดยการแสดงออกซึ่งความไม่เห็นด้วยกับนโยบายประชานิยมอย่างรุนแรง เกลียดชังการโอนย้ายทรัพยากรและงบประมาณจากส่วนกลางไปยังประชาชนชั้นล่าง ทั้งในเมืองและชนบททั่วประเทศ จนส่งผลให้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มพันธมิตรอำนาจนิยม ซึ่งมีแนวร่วมแฝงคือชนชั้นขุนนาง กลุ่มทุนเก่า และปัญญาชนชั้นกลางบางส่วนในเมือง เพื่อล้มการเลือกตั้ง โค่นล้มผู้นำรัฐบาลไทยรักไทย ฉีกรัฐธรรมนูญ จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แก้ไขดุลอำนาจให้กลับไปสู่ระบอบอำนาจนิยมแฝงเร้นซึ่งชนชั้นขุนนางและกลุ่ม ทุนขุนนางกุมอำนาจรัฐ มีพรรคการเมือง การเลือกตั้ง และรัฐสภา แต่รัฐบาลอ่อนแอ ถูกควบคุมด้วยอำนาจของชนชั้นขุนนางในราชการ และพยายามขัดขวางยุตินโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ เลือกข้างให้เศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในระบบทุนนิยมขุนนาง ซึ่งความเป็นขวาจัดทางการเมืองของพวกเขาก็ได้สื่อผ่านโดยใช้สถาบันจารีต ประเพณีเป็นเครื่องมือ สามารถอธิบายโดยใช้ทฤษฎีขบวนการทางสังคมใหม่ (New Social Movement -NSM) ดังนี้ค่ะ


2. ทฤษฎีขบวนการทางสังคมใหม่ (New Social Movement -NSM)

กำเนิดของขบวนการทางสังคมใหม่ คือการวิพากษ์ทฤษฎีการระดมทรัพยากรว่า สนใจเฉพาะการตอบคำถามว่าขบวนการทางสังคมเกิดขึ้นอย่างไร ขณะเดียวกันก็วิพากษ์ทฤษฎีมาร์กซิสต์[1]ว่า มีข้อจำกัดในการอธิบายปรากฏการณ์/ขบวนการทางสังคมใหม่ๆ เช่น ขบวนการสิ่งแวดล้อม ขบวนการสิทธิสตรีและอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960s และ 1970s (Donatella Della Porta and Mrio Diani, 1999:11) ซึ่ง ได้ทำให้เกิดคำถามในหมู่นักทฤษฎีในยุโรปกลุ่มหนึ่งว่า เหตุใดจึงเกิดขบวนการซึ่งมิได้มีฐานจากความขัดแย้งทางชนชั้นเหล่านี้ขึ้นมา อย่างกว้างขวาง (ผาสุก, 2544)

Alberto Melucci ได้ชี้ให้เห็นถึงการก่อตัวขึ้นของปรากฏการณ์ความขัดแย้งทางสังคมหลังสมัยใหม่ เหล่านี้ และเห็นว่าทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่ใช้อธิบาย คือทฤษฎีทางชนชั้นและทฤษฎีแนวการกระทำรวมหมู่ของสำนักอเมริกาหรือทฤษฎีการ ระดมทรัพยากรนั้นมีข้อจำกัด เนื่องจากสนใจแต่เพียงองค์กรการเคลื่อนไหว, ยุทธศาสตร์, ยุทธวิธี และความสำเร็จหรือความล้มเหลว การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ของขบวนการทางสังคมโดยนักทฤษฎีซึ่งอธิบายภายใต้ ทฤษฎีสังคมศาสตร์เท่าที่มีอยู่จึงให้คำตอบได้เพียงว่าขบวนการทางสังคมเกิด ขึ้นอย่างไรแต่ไม่อาจให้คำตอบได้ว่าเหตุใดหรือทำไมขบวนการทางสังคมจึงเกิดขึ้น (Melucci,1985:214)

การตระหนักถึงความไม่เพียงพอของแนวการวิเคราะห์แบบชนชั้นดั้งเดิมนี้เอง ได้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของกรอบการวิเคราะห์ของสำนักคิดที่เรียกว่า “ขบวนการทางสังคมใหม่” เหตุที่ความขัดแย้งและการต่อสู้ทางชนชั้นเกิดจากลักษณะความสัมพันธ์ทางชนชั้นดังกล่าวนี้ขบวน การทางสังคมที่เกิดขึ้น เช่น ขบวนการกรรมกร จึงถูกมองว่าเป็นการต่อสู้ทางชนชั้น ในทัศนะของมาร์กซิสต์ต่อสู้ดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อตำแหน่งทางภววิสัย(Objective location)และอัตลักษณ์ของจิตสำนึก(conscious identity)สอด คล้องต้องกัน สำนักมาร์กซิสต์ได้วิเคราะห์ว่าแหล่งที่มาสำคัญของการสร้างประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งหรือเชื้อปะทุของการกระทำรวมหมู่คือผลประโยชน์ทางวัตถุอันก่อให้ เกิดตำแหน่งทางชนชั้น ซึ่งเชื่อมโยงการปะทะ-ประสานเข้ากับการเคลื่อนไหวทางสังคม การวิเคราะห์ของมาร์กซิสต์ที่พยายามเชื่อมโยงผลประโยชน์ของชนชั้น (class interests) เข้ากับความขัดแย้งทางสังคมและการเรียกร้องผลประโยชน์(articulation)อย่างเป็นเหตุเป็นผล จึงเป็นเรื่องของชนชั้น (Pakulski, 1995:57)

ในกรอบการวิเคราะห์แบบขบวนการทางสังคมใหม่จึงเห็นว่าข้อถกเถียงในเรื่องชนชั้น เริ่มตกต่ำลงหลังจากมีขบวนการทางสังคมใหม่ๆ เช่น ขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิแห่งความเป็นพลเมืองของชาวอเมริกัน (civil rights movements) ขบวนการสิ่งแวดล้อมในยุโรป ขบวนการศาสนาแบบยึดมั่นในคัมภีร์ศาสนาอิสลาม(fundamentalist movement)ในตะวันออกกลาง ขบวนการผู้หญิง (feminist movement )ฯลฯ ซึ่ง ขบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นโดยเชื่อมโยงกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย และได้เปลี่ยนจากความขัดแย้งเดิมคือระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพมาเป็นการต่อสู้บนความต้องการผลประโยชน์และการจัดหาสวัสดิการ, การต่อสู้เพื่อให้รับรองความแตกต่างหลากหลาย, เพื่อให้รับรองสิทธิทางการเมือง, สิทธิ ในการปกป้องรูปแบบและวิถีการดำเนินชีวิต สิทธิในอัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคล สิทธิในการดำรงอยู่ของชุมชน ฯลฯ โดยใช้วิธีการต่อสู้ผ่านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ความขัดแย้งและปรากฏการณ์ทางสังคมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นนี้เอง ได้นำมาสู่การขยายกรอบการวิเคราะห์แบบ “ขบวนการทางสังคมใหม่”(New Social Movement ) การเกิดขึ้นของขบวนการทางสังคมเหล่านี้จึงใหม่ในแง่ที่ว่า ไม่ได้ใช้อาชีพหรือชนชั้นเป็นตัวเชื่อมประสาน

Offe ได้ กล่าวว่าในการพัฒนาอุตสาหกรรม ระบบการเมืองจำเป็นต้องเพิ่มการควบคุมระบบเศรษฐกิจ และตรงพื้นที่รอยต่อระหว่างระบบการเมืองกับส่วนของสังคมประชาซึ่งยังไม่ได้ถูกทำให้เป็น “การเมือง” โดย“พื้นที่สีเทา” ที่กำลังจะกลายเป็น “ส่วนการเมือง” นี้เองที่ขบวนการทางสังคมได้ปรากฏตัวขึ้น ซึ่งจัดเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่าน และ/หรือขบวนการทางสังคมคือตัวกระทำการทางสังคมซึ่งช่วยทำให้พื้นที่อันเป็นของสังคมประชาได้เป็น “การเมือง” กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ขบวนการทางสังคมช่วยทำให้ระบบการเมืองขยายกิจกรรมไปสู่สังคมประชา และทำให้ระบบการเมืองสามารถปรับตัวเข้ากับการท้าทายใหม่ที่เป็นผลพวงมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรม(Princen,1994:51-52)


บริบทแห่งลักษณะสำคัญของขบวนการทางสังคมใหม่สมารถแบ่งได้ 3 ประการคือ

1.ขบวนการเหล่านี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานของชนชั้นเดียวเหมือนในอดีตแต่เป็นการตอบโต้กับปัญหาและความขัดแย้งใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งวางอยู่บนฐานหลากชนชั้น

2. เป็นขวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องที่ไม่ผ่านกลไกทางการเมืองที่ดำรงอยู่ เช่นพรรคการเมือง นักการเมือง หรือหวังพึ่งกลไกรัฐ เนื่องจากความขัดแย้งใหม่เหล่านี้ มีความซับซ้อนเกินกว่าที่สถาบันทางการเมืองในระบบจะจัดการได้

3.ไม่ได้เป็นเรียกร้องผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เหมือนทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์ แต่ขบวนการทางสังคมใหม่นี้ต้องการสร้าง “กติกาหรือกฎเกณฑ์ชุดใหม่ในการดำรงชีวิต” อันเป็นการช่วงชิงการนำในการสร้างคำนิยาม/ความหมายชุดใหม่ให้กับสิ่งที่ต่อสู้ หรือเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างวาทกรรมชุดใหม่ในเรื่องนั้นๆ (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2540)

พฤทธิสาณ ชุมพล (2546: 339-341) ได้สรุปให้เห็นลักษณะสำคัญซึ่งเป็นความ “ใหม่” ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ไว้ 3 ประการคือ

1. เป็นขบวนการทางสังคมมากกว่าที่จะเป็นขบวนการทางการเมืองเพราะให้ความสนใจใน เรื่องค่านิยมและวิถีชีวิตหรือเรื่องเชิงวัฒนธรรมมากกว่าและไม่ได้มุ่งที่จะ เข้าไปมีส่วนในอำนาจรัฐหรือครองอำนาจรัฐ

2.มีฐานที่มั่นอยู่ในสังคมประชา โดยเน้นไปที่ลักษณะการอ้อมรัฐ(bypass the state) หรือเรียกได้ว่าไม่สนใจติดต่อหรือท้าทายอำนาจรัฐโดยตรง จึงมีลักษณะการทำกิจกรรมและลักษณะอุดมการณ์เชิงสัญลักษณ์(symbolic)เป็นหลัก

3.มีพยายามที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงสังคม ทั้งโดยเปลี่ยนแปลงค่านิยม และโดยการพัฒนาวิถีชีวิต ขึ้นมาเป็นทางเลือก (alternative life-styles) หรือเป็นการสร้างสรรค์วิถีชีวิตใหม่ โดยการท้าทายค่านิยมแบเดิมๆ

ประพจน์โดยสรุปแห่งขบวนการสังคมใหม่ในประเทศโลกที่สามสามารถกล่าวได้ดังนี้

1. ขบวนการทางสังคมใหม่ในโลกที่สามมักถูกให้ความหมายว่า เป็นการตอบโต้ของประชาชนอย่างหลากหลายและกว้างขวางต่อวิกฤตการณ์ที่เกิดจาก การพัฒนา ซึ่งเข้าไปรุกรานชีวิตชุมชนท้องถิ่น Kothari (1985) ได้ ชี้ให้เห็นปรากฏการณ์ของขบวนการทางสังคมในโลกที่สามว่า เป็นความล้มเหลวของระบบการเมืองปกติ ทั้งสถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหารหรือรัฐบาลที่ตั้งอยู่บนทฤษฎีการมีส่วนร่วมแบบที่เน้นการเลือก ตั้ง โดยการมีส่วนร่วมนี้เป็นเพียงมายาคติ (myth)

2.การพัฒนาที่ส่งผลกระทบกับชีวิตชาวบ้าน โดยรัฐและทุนได้บุกเข้าไปในชนบทมากขึ้น ทำให้บทบาทของรัฐเพิ่มขึ้น รัฐจึงเข้าไปใช้อำนาจควบคุมขบวนการทางสังคมแบบรากหญ้า (grass roots movements) โดยที่ขบวนการการเคลื่อนไหวระดับรากหญ้า ไม่ได้เปิดพื้นที่ในการต่อสู้นอกรัฐ แต่เป็นความพยายามที่จะเปิดพื้นที่ของการเมืองนอกเวทีปกติ เพื่อที่จะจัดความสัมพันธ์กับรัฐใหม่

3. ขบวนการทางสังคมรากหญ้าถูกมองว่าเป็นความพยายามที่จะสลายการครองความเป็นเจ้า สลายความโดดเด่น หรืออาจพูดได้ว่า ขบวนการทางสังคมในโลกที่สามคือวาทกรรมแห่งการต่อต้านการพัฒนา (anti-development discourse) (Escobar, 1992: 431)


สำหรับแนวทางฟื้นฟูปรับเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจไทยสู่ความยั่งยืน ในภาวะสมดุลตามความเห็นของดิฉัน ได้แบ่งเป็นแนวทางจากนโยบายทั้ง 3 ด้านดังนี้ค่ะ


1.นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ

1.1 การลงทุนด้านการศึกษาผ่านการผ่าตัดการปฏิรูปการศึกษา ที่ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนหลักสูตร แต่เน้นเรื่องการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

1.2 การลงทุนในเรื่องการสร้างเศรษฐกิจแบบฐานความรู้ การสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งความรู้ของประชาชน โดยเฉพาะนอกโรงเรียน และความรู้ในชุมชน

1.3 การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่ ช่วยให้ต้นทุนของการทำธุรกิจ และการเข้าถึงโอกาสอื่นๆ ของประชาชนต่ำลง เช่น การคมนาคมขนส่ง รถไฟ เครื่องบิน ถนนหนทาง โครงข่ายโทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา และโครงข่ายอินเตอร์เน็ต จะเป็นการช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวมากขึ้นในอนาคต

1.4 การลงทุนในด้านสาธารณสุขที่ช่วยให้สุขอนามัยและอาหารการกินของเด็กและเยาวชนดีขึ้น จะทำให้พวกเค้าเติบโตขึ้นมาเป็นประชาชนที่มีคุณภาพด้านความคิด และสุขภาพกาย

1.5 การแก้ปัญหาแหล่งน้ำและที่ดินทำกิน ที่รัฐจะช่วยให้ชาวบ้านสามารถมีโอกาสในการแก้ปัญหาเรื้อรังเรื่องรายได้


2.นโยบายทางด้านการเมือง

2.1 ปกป้องระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญไว้ให้ได้ ต้านทานการเคลื่อนไหวที่มุ่งทำลายประชาธิปไตยและฟื้นระบอบอำนาจนิยม ซึ่งประชาธิปไตยต้องประกอบไปด้วยการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ปรับปรุงรัฐธรรมนูญและกฎหมายเพื่อเพิ่มมาตรการเสริมความแข็งแกร่งให้กับ ระบอบประชาธิปไตย

*ปรับปรุงรัฐธรรมนูญ ขจัดข้อจำกัดการมีส่วนร่วมกิจกรรมการเมืองของประชาชนบางประการ เช่น ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องมีวุฒิอย่างต่ำปริญญาตรี เขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครเพียงรายเดียวต้องได้รับคะแนนเสียงอย่างน้อยร้อย ละ 20 ของผู้มาใช้สิทธิ์

*ปรับปรุงขั้นตอนวิธีการเข้ามีส่วนร่วมเสนอกฎหมายหรือตรวจสอบโดยประชาชนให้ง่าย และตรงไปตรงมามากขึ้น เช่น การเข้าชื่อกันเสนอและแก้ไขกฎหมายหรือถอดถอนนักการเมือง การลงประชามติ

*เสริมสร้างกลไกการถ่วงดุลและตรวจสอบองค์กรของรัฐและพฤติกรรมนักการเมืองให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น เช่น ขั้นตอนวิธีการคัดสรรบุคคลเข้าสู่องค์กรอิสระต่าง ๆ

2.2 ดำเนินนโยบายและมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ กับระบบเศรษฐกิจไทย ชดเชยจุดอ่อนและความเปราะบางในบางสาขาการผลิต สร้างความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่มีเสถียรภาพและก่อ ประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างยั่งยืน หลีกเลี่ยงผลกระทบที่บั่นทอนเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและแสวงผลประโยชน์ของประเทศไทยในเศรษฐกิจโลก ประกอบด้วยมาตรการปฏิรูปดังนี้

*การเปิดเสรีการค้า

**ทยอยลดอัตราภาษีศุลกากร ลดการบิดเบือนของอัตราการปกป้องด้วยภาษีศุลกากรที่มีต่อสินค้าขั้นปฐม ขั้นกลาง และขั้นปลาย

**ปฏิรูปขั้นตอนและกฎระเบียบการนำเข้าและส่งออกสินค้าให้ง่ายขึ้น รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ลดการใช้อำนาจในทางมิชอบและทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ

**จัดทำและพัฒนามาตรฐานสินค้าและมาตรฐานสุขอนามัยเพื่อควบคุมสินค้าเข้าที่อาจก่อ ให้เกิดปัญหากับผู้ใช้หรือผู้บริโภค ตลอดจนเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลไกการตรวจสอบชนิดและมาตรฐานของสินค้าเข้าและออก

*การเปิดเสรีการลงทุนและภาคบริการ

**ลดอุปสรรคและข้อจำกัดในการเข้ามาประกอบธุรกิจของทุนต่างชาติในสาขาเศรษฐกิจไทยที่มีความพร้อม

**ดำเนินมาตรการและจัดตั้งกองทุนปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อพัฒนาส่งเสริมสร้างความ เข้มแข็งให้กับสาขาเศรษฐกิจไทยที่มีศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมที่เปิดรับการลงทุนและการแข่งขัน

**ให้มีมาตรการและกองทุนชดเชยให้กับสาขาเศรษฐกิจและธุรกิจที่อ่อนแอไม่สามารถแข่งขันได้ และต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการประกอบธุรกิจ

**ปฏิรูปกฎหมายเศรษฐกิจเกี่ยวกับการลงทุนให้โปร่งใส ลดข้อจำกัดการนำเงินทุนเข้าและออกในกรณีประกอบธุรกิจปกติและในภาวะเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ

*การเปิดเสรีทางการเงิน

**ลดอุปสรรคและข้อจำกัดของการเข้ามาแข่งขันให้บริการของสถาบันการเงินต่างประเทศ ให้มีการแข่งขันและการปฏิบัติต่อสถาบันการเงินต่างประเทศและสถาบันการเงินไทยอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เพิ่ม ทางเลือกให้กับธุรกิจในการแสวงหาแหล่งและรูปแบบเงินกู้ ขยายทางเลือกให้กับประชาชนในแหล่งและรูปแบบการออมเงินเพื่อผลตอบแทนสูงสุด ด้วยความเสี่ยงที่เหมาะสม

**เพิ่มความโปร่งใสในการบริหารจัดการเงินทุนและความเสี่ยงโดยสถาบันการเงินให้สุจริตและตรวจสอบได้

**ปฏิรูปบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยจากองค์กรที่ทั้งรับผิดชอบเศรษฐกิจมหภาคและ กำกับดูแลสถาบันการเงินด้วยการควบคุมจำกัดจำนวน ชนิด ประเภทของบริการทางการเงินและสถาบันการเงิน ให้เป็นองค์กรที่รับผิดชอบเศรษฐกิจมหภาคเป็นสำคัญ จัดตั้งองค์กรกำกับดูแลสถาบันการเงินที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่เน้นการวางกฎเกณฑ์มาตรฐาน และดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินทั้งไทยและต่างชาติให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

*การเปิดเสรีโทรคมนาคม

**ดำเนินการเปิดเสรีอย่างเป็นขั้นตอนตามแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (2549-2551) ของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช) ที่ให้มีการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม โดยยังคงรักษาหลักการให้บริการทั่วถึง ปรับเปลี่ยนจากระบบสัมปทานเป็นระบบใบอนุญาตที่โปร่งใส ภายใต้การกำกับดูแลของ กทช.

*การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

**ปฏิรูปโครงสร้างรัฐวิสาหกิจในภาคสาธารณูปโภค แยกโครงสร้างพื้นฐานออกจากการบริการ ให้โครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงข่ายไฟฟ้าและเขื่อน โครงข่ายท่อประปา โครงข่ายโทรศัพท์ ยังคงอยู่ในความควบคุมของรัฐผ่านบริษัทจำกัดที่รัฐถือหุ้นส่วนข้างมาก ให้วิสาหกิจเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปเป็นบริษัทจำกัดแต่รัฐถือหุ้นส่วน ข้างมากเข้ามาแข่งขันกันให้บริการแก่ผู้ใช้ทั้งภาคธุรกิจและประชาชน ภายใต้การกำกับดูแลด้านต้นทุน ราคา และคุณภาพโดยองค์กรกำกับดูแลกิจการสาธารณูปโภคอิสระของแต่ละสาขา

**รัฐวิสาหกิจในกิจการที่มิใช่สาธารณูปโภคและความมั่นคงของรัฐ หากเป็นรัฐวิสาหกิจที่ยังมีศักยภาพที่จะแข่งขันได้และเพื่อคงไว้ซึ่งการแข่ง ขัน ก็ให้แปรรูปเป็นบริษัทจำกัดที่รัฐถือหุ้นส่วนข้างมาก แล้วให้ทยอยลดสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐลง รัฐวิสาหกิจที่แข่งขันไม่ได้ ขาดทุนเรื้อรัง ให้แปรรูปขายให้นักลงทุนเอกชนเข้ามาดำเนินงานแทนหรือให้ยุบเลิก

**ให้รัฐมีมาตรการและกองทุนชดเชยเพื่อช่วยเหลือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบ เช่น การฝึกอบรมใหม่ การเปลี่ยนตำแหน่งงานในวิสาหกิจ การบรรจุงานใหม่ การเปลี่ยนกิจการ การปลดเกษียณก่อนเวลาพร้อมค่าชดเชย

**วิธีการแปรรูปและกระจายหุ้นให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยไม่เน้นแต่เพียงการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และเฉพาะผู้ลงทุนในตลาด หลักทรัพย์ แต่ให้กระจายหุ้นไปสู่มหาชนลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ให้กระจายหุ้นไปสู่มหาชนอย่างแท้จริง


3. นโยบายทางด้านสังคม

3.1 เน้นสร้างระบบประกันสังคม การแก้ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้เพื่อ ให้ดอกผลของประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์กระจายไปสู่ประชาชนส่วนข้างมากของ ประเทศ ก่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจสังคมและลดความยากจน ทำให้ระบอบประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์มีความชอบธรรม มั่นคงและยั่งยืน

*พัฒนาและขยายระบบประกันสังคมแบบทั่วด้าน ทั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญ เงินชดเชยการว่างงานและชราภาพ โดยเน้นให้มีการออมโดยปัจเจกชนเป็นหลัก เสริมด้วยการสมทบจากรัฐในปริมาณที่เหมาะสม

*ขยายและเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท รักษาทุกโรค) ให้มีงบประมาณ จำนวนยาและบุคลากร ประเภทของโรค ชนิดของยาในบัญชียาหลัก เป็นต้น รวมทั้งขยายไปสู่สวัสดิการสาธารณสุขของแม่และเด็กเล็กถ้วนหน้า

*ขยายและเสริมสร้างมาตรการแก้ไขความยากจนที่มีอยู่แล้วให้เข้มแข็ง เช่น พัฒนาให้กองทุนหมู่บ้านที่เข้มแข็งไปเป็นธนาคารหมู่บ้าน ตรวจสอบ แก้ไขปัญหาและปรับปรุงกองทุนหมู่บ้านที่อ่อนแอให้เข้มแข็ง เสริมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ด้วยการพัฒนาคุณภาพและหีบห่อ ส่งเสริมเครือข่ายการตลาดทั้งในและต่างประเทศ จัดตั้งหรือขยายกองทุนส่งเสริมสหกรณ์เกษตรที่มีอยู่เดิม ให้ฝึกบุคลากร การจัดการ และระบบบัญชีให้ทันสมัย

*เพิ่มและพัฒนามาตรการภาษีเพื่อเพิ่มความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ ได้แก่ ภาษีที่ดินที่มิได้ใช้ประโยชน์โดยเจ้าของและภาษีมรดก พัฒนาจากขอบเขตประเภทภาษีเล็กแคบไปสู่ขอบเขตประเภทภาษีกว้าง และจากอัตราภาษีต่ำค่อย ๆ ยกสูงขึ้น โดยดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปในเวลายาวนาน เพื่อลดผลกระทบและแรงเสียดทานทางการเมือง

*ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานและสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด ส่งเสริมและใช้มาตรการจูงใจให้ธุรกิจและประชาชนเข้าร่วมคุ้มครองแรงงานและ สิ่งแวดล้อมโดยสมัครใจ ค่อย ๆ ยกระดับมาตรฐานกฎหมายแรงงานและสิ่งแวดล้อมให้สูงขึ้นตามมาตรฐานสากลเพื่อ ปรับปรุงยกระดับคุณภาพชีวิตในที่ทำงานและในชีวิตประจำวันของผู้ใช้แรงงานและ ประชาชนให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เป็นอีกหลักเกณฑ์ที่จะทำให้ประเทศอยู่รอดเนื่องจากหากประชาชนมีความรู้ มีวินัยทางการเงิน มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ และยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงกันในสายเลือด นโยบายแบบทักษิโนมิกส์ก็สามารถนำมาใช้ได้ในระยะสั้นๆ ในช่วงที่เศรษฐกิจประเทศประสบปัญหารุนแรง และประชาชนส่วนใหญ่ ต้องมีทัศนคติเรื่องการใช้จ่าย และการลงทุนที่ดีกว่านี้ เพราะว่าในระหว่างรักษาตัว ก็ต้องสร้างภูมิคุ้มกันใหม่ นั่นก็คือภูมิปัญญาที่ทราบว่าจะใช้เงินอย่างไร และจะลงทุนอย่างไรให้เกิดความสามารถในการใช้หนี้คืนได้ และพอหมดยาขนานนี้ ทุกคนหายดีแล้ว ก็เดินต่อกันเองได้

จะเห็นว่าปัจจุบันการนำเอาแนวคิดทักษิโนมิกส์มาใช้ เป็นไปได้ค่อนข้างยากที่จะได้ผลเป็นส่วนใหญ่ เพราะประชาชนจำนวนไม่น้อยยังขาดความเข้าใจในแนวคิดการดำรงชีวิต แบบเศรษฐกิจพอเพียง และมีวินัยในการใช้จ่ายที่ถูกต้อง ซึงในระหว่างการฉีดยาทักษิโนมิกส์เข้าไปนั้น รัฐมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องวินัยระยะยาวคู่ขนานกันไป อย่างไรก็ตามได้มีหมู่บ้าน และชุมชนจำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันเรื่องของวินัยการใช้จ่าย และแนวคิดการลงทุนที่ถูกต้อง ตกผลึก ซึ่งยาทั้งสองขนานนำไปใช้คู่กันได้ผลเป็นอย่างยิ่ง

ผลลัพธ์ของนโยบายมีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล ส่วนที่ได้ผลมาจากความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์ในที่นั้นๆ ส่วนที่ไม่ได้ผลเพราะเกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้เงิน และลงทุน ของบุคลากรในพื้นที่นั้นๆ ที่เราคงต้องเสริมภูมิคุ้มกันเข้าไปคือเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งกองทุนหมู่บ้านช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้จริงๆ ตามที่คุณบอกมาว่าเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน แต่ประเด็นคือวิธีการจะนำเงินไปใช้ลงทุนให้มีผลตอบแทนกลับมาคืนหนี้ได้ต่าง หาก สิ่งนี้คือความเสี่ยงของการปล่อยกู้ ฉะนั้นสิ่งที่เราต้องระวังคือวินัยในการใช้และลงทุน

การลงทุนสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลชุดที่แล้วมีนโยบายจะทำคือเมกะโปรเจ็กเรื่องน้ำ หากทำสำเร็จจะแก้ปัญหาระยะยาวเรื่องภัยแล้ง และการเพาะปลูกได้ดีมาก สิ่งนี้คือการแก้ปัญหาที่รากเหง้าอย่างแท้จริง ส่วนการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านสำหรับบางคนก็คือการ Refinance หนี้ นอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูง มาเป็นหนี้กับเงินกองทุนของรัฐเอง ซึ่งท้ายสุดก็ลดภาระดอกเบี้ยที่มีต้นทุนสูงไปได้ แต่ก็ยังไม่จบ เพราะเค้าเหล่านั้นต้องดิ้นรนกันต่อเรื่องหาเงินมาคืนกองทุนหมู่บ้านปัญหาที่เราจะเจอกันคือเค้าจะทำอย่างไรถึงจะนำเงินมาคืนได้ เรื่องนี้ต่างหากคือความเสี่ยงของการปล่อยกู้ค่ะ

เป็นที่น่าสังเกตว่าการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันนั้นได้สอดคล้องเป็นไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์อย่างมาก โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงการเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกได้เลย ขณะเดียวกันหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นก็ไม่ได้บอกให้ต้องปฏิเสธรูปแบบของความเป็นโลกาภิวัฒน์ไปทั้งหมด ความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงสามารถไปกันได้กับความเป็นโลกาภิวัฒน์ และความต้องการปรับเปลี่ยนวิถีทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัฒน์ให้สอดคล้องไปกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็มีมาก ดังนั้นจึงเดินทางมาสู่คำถามที่ว่า แล้วจะเอาแง่มุมไหนของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับเศรษฐกิจของประเทศไทยเรา

เศรษฐกิจมีทั้งด้านจุลภาคและมหภาค การเลือกเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จึงต้องพิจารณาว่าเหมาะสมและสอดคล้องมากน้อยแค่ไหนสำหรับเศรษฐกิจในแต่ละด้าน โดยหากพิจารณาจากมุมมองในแง่มหภาค จะเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเดินทางมาสู่การเป็นโลกาภิวัฒน์ที่ไกลพอสมควรแล้ว การ ย้อนกลับไปเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบเต็มที่เลยคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ควรเป็นไปทีละเล็กทีละน้อย ในแง่ของจุลภาคผ่านหน่วยย่อยต่างๆของระบบเศรษฐกิจ เช่นครอบครัว สังคม องค์กรต่างๆ และรัฐบาล ซึ่งส่วนของรัฐบาลก็อาจจะทำได้จาก การยึดหลักพอประมาณ และมีเหตุผลในการตั้งเป้าหมายและดำเนินนโยบาย ใช้ความรอบรู้ รอบคอบ และพึงระวังความเสี่ยง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ยึดหลักคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และทางสายกลาง เพราะจะเป็นผลส่งไปให้ระบบเศรษฐกิจมหภาคเดินทางเข้าใกล้ความเป็นโลกาภิวัฒน์ที่มีเศรษฐกิจพอเพียงแฝงอยู่ด้วยมากขึ้น

ภายใต้ระบบทุนนิยมในกระแสโลกาภิวัฒน์ เราต้องสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคเอกชน ขณะเดียวกันเราต้องดูแลภาคประชาชนซึ่งเกือบ 80-90% ที่ อยู่ในชนบท มีเรื่องของความยากจน การด้อยโอกาส ความสมานฉันท์ ความแข็งแรงของชุมชน การอนุรักษ์วัฒนธรรม ความแข็งแกร่งของครอบครัว ซึ่งนับวันจะอยู่ตามซอกหลืบ นี่คือแรงผลักดันจากชุมชนภิวัตน์ ประเด็นคือ เราจะ Balance 2 พลังขับเคลื่อนนี้ในทิศทางที่ก่อให้เกิด High Performance Economy ได้ หรือไม่ นี่คือประเด็นที่ท้าทาย จะทำอย่างไรให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ สามารถสร้างดุลยภาพระหว่างความสมานฉันท์ในสังคมกับขีดความสามารถทางการแข่ง ขันทางเศรษฐกิจของประเทศในเวทีโลก

เศรษฐกิจพอเพียงควรจะเป็นหลักยึดหลักคิดก่อนจะทำสิ่งใดก็ตามควบคู่กับคำถามเหล่านี้

1.มีภูมิคุ้มกันดีพอหรือยัง

2. มีการประมาณตนหรือไม่

3. ใช้องค์ความรู้ ใช้สติหรือเปล่า และประเด็นคือจะทำอย่างไรให้...

4. พลังขับเคลื่อนโลกาภิวัฒน์และชุมชนภิวัตน์ กับ High Performance Economy กับ เศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในดุลยภาพเชิงพลวัตรในทิศทางที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประเด็นที่ท้าทายมาก โดยเมื่อไหร่ก็ตามที่ได้มีการเริ่มนำ 4 พลังขับเคลื่อนด้านบนมาพิจารณาร่วมกันบน Platform เดียวกัน โดยเน้นตอบโจทย์ความมั่งคั่งของชาติและผลประโยชน์ของชาติ สิ่งนี้จะทำให้เกิดกรอบแนวคิดแห่งยุทธศาสตร์ขึ้นมาได้ทันที โดย เน้นย้ำว่ามิติแห่งการพัฒนานั้นควรต้องเน้นความสมดุลด้วย ต้องมองเรื่องทุนทางสังคมและทุนมนุษย์ควบคู่ไปด้วย โดยทำหน้าที่แค่เพียงเติมทุนทางเศรษฐกิจเข้าไปให้ชุมชนนั้นๆ ให้สามารถเชื่อมต่อกับโลกภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและเกิดประโยชน์ แห่งการพัฒนาสูงสุด


2 comments:

  1. ขอเอาไปทำการบ้าน ขอบคุณจ้า

    ReplyDelete

Total Pageviews