.

Aug 1, 2009

“หวยออนไลน์” เงื่อนไขจริยธรรมหรือภาวะผู้นำบกพร่อง???

เป็นที่ยอมรับว่าสิ่งที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อรูปแบบของวัฒนธรรมองค์กรคือ ผู้บริหารสูงสุด เนื่องจากผู้บริหารจัดได้ว่าเป็นต้นแบบ (Role Model) และเป้นผู้นำในการตัดสินใจในการทำงานของผู้ตาม ขณะที่สังคมปัจจุบันภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ มนุษย์มักมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม กล่าวคือมักมีการให้ความสำคัญทางด้านวัตถุมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมาในแง่คุณธรรม จริยธรรมและการบริหารงานภายในองค์กรสำหรับผู้บริหาร

ด้วยเหตุดังกล่าวจะเห็นว่า ผู้บริหารทุกระดับจึงจำเป็นต้องมีการปรับกระบวนทัศน์และวิธีคิดใหม่ๆ ขึ้น เพื่อรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้านภายในองค์การ



ประเด็นความสำคัญที่ผู้นำจะต้องมีการพัฒนาและปลูกฝังโดยสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรม กล่าวได้ดังนี้


1. ผู้นำต้องมีความรู้และเป็นผู้มองการณ์ไกล สามารถวางแผนงานให้เหมาะ รู้จักงาน รู้จักตนเอง และผู้อื่น ใช้ได้กับบุคคลต่าง ๆ ในทุกสถานภาพ
2. ผู้นำต้องมีสติปัญญา มีความเชี่ยวชาญ แม่นยำ มั่นคงต่องานที่ตนบริหารอยู่

3. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถผูกใจคนได้ทั้งผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ การมีมนุษย์สัมพันธ์นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความจริงใจให้เกียรติทั้งต่อหน้าและลับหลัง ผู้บริหารที่มีความพร้อมในด้านนี้ จะสามารถบริหารกิจการได้อย่างราบรื่น เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย นับว่าคุณธรรมข้อนี้สำคัญมาก จะต้องอยู่ในตัวผู้นำทุกระดับไม่ว่าระดับสูง กลาง หรือระดับพื้นฐาน

4. การจะเป็นนักบริหารที่สังคมยอมรับ ไม่ควรจะมีจุดด่างพร้อยในชีวิต ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม นักบริหารหลายคนหมดอนาคตในความเป็นผู้นำเพราะถูกจับได้ว่าทุจริตต่อหน้าที่ หรือบางคนควรได้เลื่อนตำแหน่งหน้าที่ในระดับสูง แต่เพราะได้มีการทำผิดพลาดเพียงเล็กน้อย แม้ไม่ได้ตั้งใจก็ทำให้ต้องเสียตำแหน่งให้ผู้อื่นที่มีคุณสมบัติในการทำงาน ด้อยกว่า แต่ประวัติส่วนตัวไม่ด่างพร้อย

5. นักบริหารต้องมีจิตใจเอื้อเฟื้อ พร้อมที่จะให้การสงเคราะห์กับเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา การให้จะผูกใจคนอื่นไว้ได้ การให้ในที่นี้รวมไปถึงการให้คำแนะนำ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเคล็ดลับในการทำงานต่าง ๆ อย่างไม่ปิดบัง ให้อภัยเมื่อมีการผิดพลาดในการทำงานหรือมีการกระทบกระทั่งล่วงเกินกันจะโดย เจตนาหรือไม่ก็ตาม เมื่อมีการให้อภัยก็ย่อมได้รับมิตรภาพคืนมา ยิ่งถ้าเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน พูดแต่สิ่งดีงาม ไพเราะ อ่อนหวาน มีความจริงใจ และเป็นคนเสมอต้นเสมอปลายก็สามารถมัดใจได้ดีเช่นกัน หรือการทำตัวให้เป็นประโยชน์ในทางหนึ่งทางใด เช่น ให้การช่วยเหลือเมื่อได้รับการร้องขอ หรือการสงเคราะห์ด้วยความเมตตา การกระทำเหล่านี้ ควรทำอย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ชื่อว่าเป็น “ผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ยอดเยี่ยม”



ภาวะผู้นำและการตัดสินใจ

“ กฎที่แท้จริง ในการตัดสินใจว่าจะเลือกรับหรือไม่รับอะไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงเพราะว่า “มันไม่ดี” แต่ต้องดูว่า “ส่วนที่ไม่ดี” นั้น “มากกว่าส่วนที่ดี”หรือเปล่า “จุดที่ดี”หรือ”ไม่ดี” มีกี่จุดกฎนี้ใช้ได้กับทุกอย่างโดยเฉพาะนโยบายรัฐบาล ทุกอย่างประกอบด้วยสององค์ประกอบที่แยกกันไม่ออก เพราะฉะนั้นเราก็ต้องชั่งน้ำหนักเอาเอง

Abraham Lincoln (President of the United States, 1861-1865)

จากคำกล่าวข้างต้นจะเห็นว่า “การตัดสินใจของผู้นำ” จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายๆด้านเพื่อความเหมาะสม ต้องประกอบไปด้วยเหตุและผลที่สอดคล้องเหมาะสม อาทิ คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ โดยต้องคำนึงว่าการตัดสินใจนั้นๆ มีอิทธิพลและผลประโยชน์มาแอบแฝงหรือไม่ หากมั่นใจและบริสุทธิ์ใจ คิดว่าสิ่งนั้นประกอบด้วยคุณธรรมและจริยธรรมบ้านเมืองนั้นก็อยู่ได้ มีผู้ใดมาเขียนกฎเกณฑ์การตัดสินใจร้อยเปอร์เซ็นต์นั้นเป็นไปไม่ได้


ภาวะผู้นำ (Leadership)



ภาวะผู้นำ (Leadership) ของคนจะต้องมีภาพลักษณ์ของนักบริหาร คนเป็นนักบริหารจะต้องได้รับความเชื่ออย่างน้อย 3 อย่าง คือ

1. ได้รับการเชื่อถือ(บุคลิกภาพ) เชื่อถือในบุคลิกภาพทั้งภายนอกและภายใน ภายในคือการศึกษาอบรม ค่านิยม ทัศนคติ ความเชื่อและวิธีคิด ส่วนภายนอกคือสิ่งแวดล้อม
2. เมื่อคนจะขึ้นเป็นนักบริหารต้องมีความเชื่อมือ(ความรู้) ทำไมเรารู้สึกเชื่อมือคน ๆนี้ทำไมเราจึงไม่เชื่อมือคนนี้ทั้ง ๆที่จริงแล้วเราอาจไม่รู้ภูมิหลังของเขา นอกจากบุคลิกภาพแล้ว ความเชื่อมือเป็นสิ่งสำคัญ หากฝีมือไม่ถึงแต่เมื่อได้รับตำแหน่งใหม่ สิ่งที่ควรทำคือ ขวนขวาย

3. เชื่อใจ (คุณธรรม) ความเชื่อใจในคุณธรรม และจริยธรรม


ทั้ง 3 สิ่งเหล่านี้จะต้องมีพร้อม ๆกัน ขาดสิ่งหนึ่งใดไม่ได้ ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วจะถูกทวงถาม ถูกยื้อ และในที่สุดก็อยู่ไม่ได้ หากอยู่ได้ก็อยู่ด้วยความลำบาก ผู้ที่จะตัดสินใจได้ดีต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้



แนวคิดที่ผู้นำควรนำไปประกอบการทำงานเพื่อเสริมสร้าง ภาวะผู้นำ (Leadership) ในการปฎิบัติงานกล่าวได้ดังนี้


1. L = Lively ผู้นำควรมีความกระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา เพราะจะทำสามารถสร้างบรรยากาศในการทำงานแก่ผู้ร่วมงานให้รู้สึกสดชื่น ส่งจะผลให้การทำงานราบรื่น

2. E = Encourage ผู้นำควรต้องรู้จักเอาใจใส่บำรุงน้ำใจผู้ร่วมงาน โดยควรมีการสร้างขวัญและกำลังใจให้ลูกน้องอย่างสม่ำเสมอ


3. A = Active ผู้นำควรมีความคล่องแคล่ว ว่องไว กระฉับกระเฉง โดยต้องประกอบด้วยพื้นฐานแห่งสาระข้อมูลที่แม่นยำด้วย


4. D = Decisive ผู้นำควรมีความเด็ดขาด โดยก่อนจะมีการตัดสินใจขั้นเด็ดขาดนั้น ควรต้องประกอบไปด้วยข้อมูลที่แม่นยำ การคำนึงถึงกฎ กติกา ฯลฯ


5. E = Endurance ผู้นำต้องมีความอดทนอดกลั้น ต้องรู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่มองข้ามความเห็นของเสียงข้างน้อย เนื่องจากอาจเป็นประโยชน์ต่อไปในการทำงาน


6. R = Responsible ผู้นำต้องมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่อสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

7. S = Smart ผู้นำควรต้องมีความเฉลียวฉลาด ผ่าเผยและสง่างาม สามารถจับสัมผัสได้ดีและไวกว่าผู้อื่น


8. H = Healthy ผู้นำควรต้องมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี


9. I = Informative ผู้นำต้องสนใจข้อมูลข่าวสาร เหตุบ้านการเมือง ต้องทันต่อเหตุการณ์เพื่อมีข้อมูลในการพูดคุยกับผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับ บัญชา


10. P = Polite ผู้นำต้องมีความสุภาพ มีความสุภาพเรียบร้อยไม่ปฏิบัติตนเป็นที่รังเกียจของเพื่อนร่วมงาน


การตัดสินใจของผู้นำ

การคิดตัดสินใจ (Decision Making) มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้


1. http://tib.kku.ac.th/ อ้างอิงจากไซมอนด์ (Simon. 1960) ว่าการตัดสินใจ คือกระบวนการที่ประกอบไปด้วยเชาวน์ปัญญา (Intelligence Activity) หรือการหาโอกาสที่จะตัดสินใจ หมายถึงการสืบเสาะหาข่าวสาร สภาพทางสิ่งแวดล้อม สำหรับจะใช้ในการตัดสินใจกิจกรรมออกแบบ (design Activity) หรือการหาแนวทางเลือกที่พอเป็นไปได้หมายถึงเป็นการสร้าง พัฒนา วิเคราะห์ แนวทางต่างๆ ที่จะนำไปปฏิบัติได้ กิจกรรมคัดเลือก (Choice Activity) หรือการเลือกทางเลือกจากทางเลือกที่มีอยู่ หมายถึงการเลือกทางเลือกที่เหมาะสมจะนำไปปฏิบัติได้จริง เหมาะสมจะนำไปปฏิบัติได้จริง และมีลักษณะเป็นกระบวนการอันประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ต่อเนื่องกันไป ดังนี้


1. การแยกแยะตัวปัญหา (problem identification) ในขั้นตอนแรกของการตัดสินใจนั้น จึงเป็นเรื่องราวของการสร้างความแน่ใจ มั่นใจ โดยการค้นทำความเข้าใจกับตัวปัญหาที่แท้จริง ก็เพราะเหตุว่ากระบวนการตัดสินใจจะเริ่มต้นตามขั้นตอนแรก เมื่อผู้ทำการตัดสินใจมีความรู้สึกว่าได้เกิดปัญหาขึ้นมา นั่นก็คือ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในว่าได้มีปรากฏบางสิ่ง บางอย่างมิได้เป็นไปตามที่คาดคิด


2. การหาข่าวสารที่เกี่ยวกับตัวปัญหานั้น (information search) การเสาะหาข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวปัญหานั้นก็คือ การเสาะหาสิ่งที่เป็นสาเหตุหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหานั้น ซึ่งอาจจะไม่ใช่สาเหตุโดยตรงก็ได้


3. การประเมินค่าข่าวสาร (evaluation of information) เป็นความจำเป็นที่จะต้องประเมินค่าดูว่า ข่าวสารที่ได้มานั้นถูกต้อง เหมาะสมเพียงพอตรงเวลาและสามารถที่จะนำไปวิเคราะห์ปัญหาได้หรือไม่


4. การกำหนดทางเลือก (listing alternative) เป็นขั้นตอนสำคัญของการตัดสินใจ คือ การกำหนดทางเลือกมากที่สุดเท่าที่จะมากได้เป็นการที่จะพยายามจะครอบคลุมวิถี ทางที่จะแก้ปัญหาได้หลายๆ วิธี ถ้าเรามีข่าวสารสมบูรณ์สำหรับปัญหาแต่ละเรื่อง เราอาจจะกำหนดทางเลือกได้เหมาะสมและครอบคลุมอย่างแท้จริงได้


5. การเลือกทางเลือก (selection of alternative) เมื่อได้กำหนดทางเลือกต่างๆ ออกมาแล้ว พร้อมทั้งกำหนดลำดับความสำคัญและความเหมาะสมในการแก้ปัญหา ขั้นตอนต่อไป คือ การเลือกทางเลือกที่จะปฏิบัติการต่อไป (selection of a course of action) และขั้นนี้เองที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เป็นการตัดสินใจอย่างแท้จริง


6. การปฏิบัติตามการตัดสินใจ (implement of decision) เมื่อทางเลือกได้ถูกเลือกเข้ามาแล้ว ก็เป็นการปฏิบัติตามผลของการตัดสินใจหรือทางเลือก



Ernest Dale แห่ง University of Pennsylvania ได้มีการแบ่งการตัดสินใจของผู้นำออกเป็น 5 ลักษณะดังนี้


Ideal Decision-maker เป็นการตัดสินใจโดยใช้เกณฑ์แห่งความรู้ความสามารถที่มีอยู่ในทุกๆ ด้านเป็นพื้นฐานประกอบในการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ รอบคอบมีเหตุผล สอดคล้องทางข้อมูล สถิติรวมถึงดัชนีชี้วัดความเที่ยงตรงทีสามารถจับต้องได้


Receptive decision-maker เป็นการตัดสินใจที่เลือกเอาข้อสรุป หรือข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้องมาพิจารณา โดยตนเองไม่ได้ใช้หลักการคิดพิจารณาในการตัดสินใจด้วยตนเอง ซึ่งการตัดสินใจลักษณะนี้นับว่ามีทั้งแง่ดีและแง่ลบในตัว เนื่องจากหากผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้องมีอคติ หรือไม่รู้จริงอย่างถ่องแท้ จะส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อการนำไปใช้

Exploiting decision- make
r เป็นการตัดสินใจที่ชอบขโมยความคิดใหม่ๆของผู้อื่นมาเป็นของตน จัดเป็นการตัดสินใจที่น่ารังเกียจและแสดงถึงความไม่จริงใจ

Collection Decision-maker
เป็นการตัดสินใจโดยใช้วิธีฉวยโอกาส เข้าลักษณะแบบปะหน้าปะจมูก หรือใช้สถาการณ์แวดล้อมช่วยในการตัดสินใจ เนื่องจากความไม่รู้จริง และหากเกิดความผิดพลาดมักโยนความผิดให้แก่คนอื่น

Market Decision-maker
เป็นการตัดสินใจแบบใช้วิธีการซักถามจากหลายๆคนๆ โดยตนเองไม่มีความรู้ด้านนั้นมากนั้น แล้วเลือกจากคนที่ตนเห็นด้วยมากสุด ผู้บริหารที่เลือกการตัดสินใจประเภทนี้ จะไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา


กรณี ประเทศไทยพิจารณาประเด็นการตัดสินใจอนุมัติหรือไม่อนุมัติขายสลากเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว(หวยออนไลน์) ของรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ


การที่ “หวยบนดิน” หรือสลากพิเศษเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ซึ่งถูกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาล โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีคำสั่งยกเลิกไปเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลว่าเป็นการทุจริตเชิงนโยบายในรัฐบาลของอดีตนายกฯทักษิณ มีการนำเงินไปใช้จ่ายอย่างไม่ระมัดระวัง และยังไม่เป็นการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ให้ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ทำได้เพียงออกสลากกินแบ่ง ไม่สามารถออกหวย หรือสลากกินรวบได้ โดยครม.ชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการสั่งทบทวนโครงการ“หวยออนไลน์” ขึ้นอีกครั้ง ซึ่งถือได้ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่หลังจากที่ได้เคยถูกหยิบยกขึ้นมาก่น อที่จะมีการออกหวย 2 ตัว 3 ตัว ในสมัยรัฐบาลอดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งโครงการ “หวยออนไลน์” ได้ถูกจัดทำขึ้นภายใต้ พ.ร.บ.สลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 และมีการแบ่งรายได้ตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนดดังนี้

*60% จ่ายเป็นค่ารางวัล

*28% ส่งรายได้เข้ากระทรวงการคลัง

*12% เป็นค่าบริหารจัดการ


เหตุผลที่รํฐบาลสั่งทบทวนคือเพื่อต้องการแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งฯเกินราคาและ เพื่อสามารถจำกัดการเติบโตของหวยใต้ดินที่มีตัวเลขเพิ่มมากกว่า 2 เท่าตัว ตัวเลขยอดจำหน่ายในช่วงเวลาที่หวยบนดินถูกยกเลิกไป จากการคาดการในปี 2546 มีมูลค่าราว 370,000 ล้านบาท และในปีนี้กลับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 740,000 ล้านบาท


แม้เงื่อนไขที่ เกิดขึ้นขณะนี้คือการที่โครงการนี้ยังคงไม่สามารถดำเนินการต่อ ได้และยังอยู่ในช่งการฟ้องร้องระหว่างบริษัท ล็อกซเล่ย์ จีเทค เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) กับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล *ประเด็นเงื่อนไขการตัดสินใจของนายกฯอภิสิทธิ์ ว่าจะดำเนินการหวยออนไลน์หรือไม่อย่างไรนั้น มีการพิจารณาภายใต้กรอบความคิดดังนี้


1. กฎหมาย ซึ่งได้มีการส่งเรื่องนี้ไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความอีกครั้ง

2. ผลกระทบทางด้านสังคม กรณีนี้ไม่ได้เลือกพิจารณาเพียงผลกระทบที่จะเกิดกับ เอเย่นต์ เจ้าของตู้ คนเดินโพย หรือพ่อค้า-แม่ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล แต่ได้พิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนของ ชาติ


คำถามที่เกิดขึ้นคืออะไรคือเหตุผลที่จะทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องเดินหน้าโครงการ “หวยออนไลน์” ขณะที่ก่อนหน้านี้นายกฯได้มีการตั้งข้อรังเกียจคัดค้านและไม่เห็นด้วยให้มี การดำเนินการ สิ่งที่สังคมกำลังจับตามองจากการรื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นอีกครั้งคือ *งบประมาณที่จะได้จากการขายหวยออนไลน์ ถือเป็นจำนวนเงินก้อนโตที่รัฐบาลสามารถนำไปใช้ในการดำเนินการต่างๆ ได้ เหมือนเช่นรัฐบาลอดีตที่เคยมีการนำเม็ดเงินจากหวยบนดินออกมาใช้ในทางการ เมืองมาแล้ว กระทั่งมีเสียง วิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นานา ดังนั้นสังคมจึงจับตาที่หรือรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์กำลังคิด อะไรอยู่ เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าขณะนี้ประเทศกำลังประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องมีการกู้เงินจากต่างประเทศ การรีดเม็ดเงินจากการจำหน่ายหวย น่าจะเป็นอีกวิธีหนึ่งในการหารายได้เข้ารัฐ ?


โดยจากการวิเคราะห์ความคุ้มค่า โครงการ “หวยออนไลน์” ในการตัดสินใจในครั้งนี้ของนายกฯ อภิสิทธิ์อาจนำบริบทของ ตัวแบบเชิงระบบ (Systems Model) ทฤษฎีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึก ( Mixed Scanning )ทฤษฎีความขัดแย้ง(Conflict Theory ) และแนวคิดบทบาทผู้นำเพื่อสร้างปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ (Paradigm Shift) มาช่วยในการพิจารณาตัดสินใจดังนี้


1. ตัวแบบระบบ (Systems Model)

เป็นตัวแบบที่นำมาจากตัวแบบระบบการเมืองของ Davis Easton มองนโยบายในฐานะเป็นผลผลิตของระบบการเมือง ตัวระบบการเมืองได้รับอิทธิพลและแรงผลักดันจากความต้องการของประชาชน นโยบายจะมีผลต่อเนื่องไปยังสภาพแวดล้อม มีผลย้อนกลับไปสู่ความต้องการและการสนับสนุนของประชาชน เช่นนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค




จากแผนภาพอธิบายได้ว่า ปัจจัยนำเข้าอาจจะเป็นข้อเรียกร้องต้องการ (Demands) หรือการสนับสนุนจากประชาชน (Supports) จะถูกนำเข้าสู่ระบบการเมืองเพื่อกลั่นกรองแล้วตัดสินใจออกมาเป็นนโยบาย สาธารณะ ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นผลผลิตของระบบ ผลของนโยบายจะตกอยู่กับประชาชน โดยจะประเมินว่านโยบายดังกล่าวตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากน้อยเพียง ใดจาก Feedback ที่ย้อนกลับมา



คุณลักษณะที่สำคัญ

•กรอบแนวคิดเชิงระบบมีฐานคติที่สำคัญว่า ชีวิตจะดำรงอยู่ได้ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตต้องทำงานอย่างเป็นระบบ

• David Easton ได้นำมาประยุกต์ในการอธิบายการเมืองว่า การเมืองดำรงอยู่เสมือน “ชีวิตการเมือง” ดังนั้นการเมืองต้องดำรงอยู่อย่างเป็นระบบ

•ความ สัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและระบบการเมืองที่ก่อให้เกิดนโยบายสาธารณะภาย ใต้กรอบแนวคิดเชิงระบบ นโยบายสาธารณะคือ ผลผลิตของระบอบการเมืองซึ่งเกิดจากอำนาจในการจัดสรรค่านิยมหรืออำนาจในการ ตัดสินใจนโยบายของระบบการเมือง

- ความต้องการของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมือง เช่น ความต้องการด้านการศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการ สวัสดิภาพ การคมนาคม

- การสนับสนุนของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมือง เช่น การปฏิบัติตามกฎหมาย การชำระภาษี “ระบบการเมืองจะดำรงอยู่ไม่ได้ถ้าหากขาดการสนับสนุนจากประชาชน”


2. ทฤษฎีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึก ( Mixed Scanning )

Etzioni เห็นว่าการตัดสินใจโดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเพียงบางส่วนจะสะท้อนให้ เห็น ประโยชน์ของกลุ่ม และองค์การที่มีอำนาจสูงสุดในสังคม แต่ผลประโยชน์ของกลุ่มประชาชนที่ด้อยสิทธิ (the underprivileged) และกลุ่มที่ไม่มีบทบาททางการเมืองจะถูกละเลย ทฤษฎีนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้ประโยชน์จากทั้ง ทฤษฎีหลักการเหตุผล และทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่าง กัน

โดยแนวคิดของ Etzioni นี้ช่วยให้ผู้สนใจเข้าใจข้อเท็จจริงที่สำคัญว่า การตัดสินใจอาจจะแปรผันไปตามขนาดของเรื่องที่จะต้องตัดสินใจ ทั้งในด้านขอบเขตและผลกระทบ และกระบวนการตัดสินใจที่แตกต่างกันอาจจะเหมาะสมกับธรรมชาติที่แตกต่างกันของ เรื่องที่จะต้องตัดสินใจ

3. ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory )


ทฤษฎี ความขัดแย้งของราล์ฟ ดาห์เรนดอ์รฟ ให้ชื่อโมเดลว่า Dialectical Conflict Perspective ในทัศนะของราล์ฟ ดาห์เรนดอ์รฟ องค์การสังคมคือ imperatively coordinated association เรียกย่อว่า ICA องค์การนี้มีขนาดต่างๆอย่างองค์การสังคมโดยทั่วไปตั้งแต่กลุ่มสังคม ชุมชนไปจนถึงสังคมมนุษย์ องค์การแต่ละขนาดประกอบด้วยบทบาทจำนวนหนึ่ง แต่ละบทบาทจะมีอำนาจบังคับผู้อื่นจำนวนหนึ่ง ดังนั้นในสายตาของราล์ฟ ดาห์เรนดอ์รฟ องค์การสังคมหรือไอซีเอของเขาเป็นเรื่องของความสัมพันธ์อำนาจและอำนาจใน องค์การถือได้ว่าเป็นสิทธิอำนาจ (authority) เพราะบทบาทเหล่านี้เป็นของตำแหน่งที่ยอมรับกันในองค์การ ดังนั้น ความเป็นระเบียบทางสังคมจะดำรงอยู่ได้ก็โดยการพยายามซ่อมบำรุงกระบวนการ สร้างความสัมพันธ์แห่งสิทธิอำนาจเอาไว้ สาเหตุของการขัดแย้งและการ เปลี่ยนแปลงในสังคมเกิดจากการที่บางครั้งอำนาจมีอยู่น้อยหายาก กลุ่มย่อยต่างๆในไอซีเอจึงต้องแข่งขันต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจอันน้อย นั้น ถ้าเปรียบความคิดของราล์ฟ ดาห์เรนดอ์รฟ กับของมาร์กซ์แล้วจะเห็นความพ้องกันในความคิด ดังนี้


1.ทั้งสองเห็นพ้องกันว่าระบบสังคม (เข้าใจง่ายๆว่าคือสังคมมนุษย์) มีสภาพการขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง

2.ทั้งสองเห็นว่าการขัดแย้งนั้นเกิดจากการขัดกันในผลประโยชน์ ซึ่งติดเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างสังคม

3.ทั้ง สองเห็นว่าผลประโยชน์ที่ขัดกันนั้นสืบเนื่องมาจากการได้รับส่วนแบ่งอำนาจไม่ เท่ากันระหว่างกลุ่มเหนือ (dominant) กับกลุ่มใต้ (subjugated)

4.ทั้งสองเห็นพ้องกันว่าผลประโยชน์ต่างๆ มีแนวโน้มที่แยกออกเป็นสองฝ่ายที่ขัดกัน

5.ทั้ง สองเห็นว่าการขัดแย้งเป็นแบบวิภาษวิธี ซึ่งมติของการขัดแย้งครั้งหนึ่งจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่ตรงข้ามกันขึ้น อันจะส่งผลให้มีการขัดแย้งคราวต่อไปอีกภายใต้เงื่อนไขเฉพาะอย่างหนึ่ง

6.ทั้ง สองเห็นพ้องกันว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นลักษณะที่ต่อเนื่องมาแต่โบราณ (ubiquitous)ของระบบสังคมและจะทำให้เกิดการขัดแย้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ใน องค์การสังคมทุกระดับ ซึ่งเป็นเรื่องของวิภาษวิธี


ประพจน์โดยสรุปที่ราล์ฟ ดาห์เรนดอ์รฟ สร้างขึ้นในทฤษฎีขัดแย้งเชิงวิภาษวิธีของเขามีดังต่อไปนี้

1.การ ขัดแย้งมีโอกาสเกิดได้หากสมาชิกของกลุ่มขัดแย้งรู้แน่ว่าผลประโยชน์ของตนคือ อะไร และสามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อมุ่งผลประโยชน์นั้น
2.ความขัดแย้งจะเข้มข้นหากเงื่อนไขทางเทคนิค เงื่อนไขทางการเมือง และเงื่อนไขทางสังคม ในการรวมกลุ่มขัดแย้งเอื้ออำนวย

3.ความขัดแย้งจะมีความเข้มข้น หากการกระจายสิทธิอำนาจและรางวัลเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน

4.ความขัดแย้งจะมีความเข้มข้นหากการสับเปลี่ยนโยกย้ายบุคคลไปมาระหว่างกลุ่มที่ผู้มีอำนาจกับกลุ่มผู้ไม่มีอำนาจเป็นไปได้โดยยาก

5.ความขัดแย้งจะรุนแรง หากเงื่อนไขการรวมกลุ่มคนด้านเทคนิค ด้านการเมืองและด้านสังคมไม่อำนายหรืออำนวยให้ทำได้น้อย

6.ความ ขัดแย้งรุนแรง หากมีการเสียประโยชน์ในการแบ่งรางวัล สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนเกณฑ์จากเกณฑ์ตายตัว ไปเป็นเกณฑ์เชิงเปรียบเทียบหรือเกณฑ์จิตวิสัยเช่น ใครทำดีกว่าใคร ใครทำเก่งกว่าใคร

7.ความขัดแย้งจะรุนแรงถ้ากลุ่มขัดแย้งไม่สามารถจะสร้างข้อตกลงควบคุมการขัดแย้งระหว่างกันขึ้นมาได้

8.ความขัดแย้งที่เข้มข้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและการจัดองค์การใหม่ขึ้นในองค์การสังคมแห่งการขัดแย้งนั้น

9.ความ คิดขัดแย้งที่รุนแรงจะก่อให้เกิดอัตราการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและการจัด ระเบียบใหม่ในองค์การสังคมที่เกิดการขัดแย้งนั้นอย่างสูง



4. แนวคิดบทบาทผู้นำเพื่อสร้างปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ (Paradigm Shift)

ผู้ นำยุคใหม่ที่จะสามารถพัฒนาองค์กรทางสังคมตนเองและของชาติให้ประสบความสำเร็จ ในยุคโลกาภิวัตน์ อันเต็มไปด้วยการแข่งขันช่วงชิง การเรียนรู้สิ่งต่างๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ผู้นำสมัยใหม่ควรจะต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะทางความคิด ซึ่งทักษะความคิดที่ดีที่สุดสำหรับผู้นำก็คือ ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) เพื่อจะได้ใช้ประกอบกับความรู้ที่มี ในการคิดหาทางแก้ไขปัญหาและ หาแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับทีมงานหรือองค์กรต่อไป



ประพจน์โดยสรุปแห่งแนวความคิดนี้ สาทารถแยกได้ป็นรูปธรรม 5 แนวคิดดังนี้คือ


1. ความคิดในมุมมองขององค์รวม (Holistic Thinking) และความคิดในเชิงบริบท (Context Thinking)

เป็นแนวความคิดเพื่อตอบโจทย์อย่างรอบคอบ หรือหาแนวความคิดให้ถ้วนถี่ เช่นการเดินหมากรุกแต่ละครั้ง ก็ต้องคิดไปถึงการเดินต่อไปของฝั่งตรงข้ามอีกหลายช๊อตว่าเขาจะเดินได้อย่าง ไรบ้าง และเขากำลังต้องการทำอะไร
ขั้น ตอนของการใช้ความคิดในมุมมองของ องค์รวม (Holistic Thinking) และความคิดในเชิงบริบท (Context Thinking) ในการวิเคราะห์การเดินหมากรุกโดยอ้างอิงทฤษฎีระบบดังนี้

1. รวบรวมปัญหา (identify problem) ว่าจะแก้ไขอะไร เพื่ออะไร ในกรณีนี้ปัญหาคือการเดินหมากรุกแต่ละครั้ง เราจะต้องคิดไปถึงการเดินต่อไปของฝั่งตรงข้ามอีกหลายช๊อต ว่าเขาจะเดินไปได้อย่างไรบ้าง และเขากำลังต้องการทำอะไร


2. จุดมุ่งหมาย (objective) กำหนดจุดหมายเพื่อใช้แก้ปัญหาที่จะทำให้เราเป็นผู้ชนะในเกมนี้


3. ศึกษาข้อจำกัดต่างๆ (constraints) พิจารณาขอบเขต เพื่อศึกษาข้อจำกัด ระบุหน้าที่ของส่วนต่างๆในระบบ ในที่นี้คือพิจารณาถึงกฎกติกาการเล่นหมากรุก ว่าหากทำอย่างนี้จะผิดกฎหรือไม่อย่างไร


4. ทางเลือก (alternative) ค้นหาและวิธีเดินหมาก ที่จะทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน


5. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection) เลือกวิธีเดินหมากที่ดีที่สุดที่จะทำให้เราได้เปรียบคู่แข่งขัน


6. การทดลองปฏิบัติ (implementation) ทดลองทำก่อนปฎิบัติจริง


7. การประเมินผล (evaluation) ประเมินหาจุดดี จุดด้อย


8. การปรับปรุงแก้ไข (modification) ปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง นำส่วนดีไปปฏิบัติต่อไป


2. การปรับเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) และการคิดล่วงหน้า (Forward Thinking)

"องค์กร ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็เปรียบเสมือนองค์กรที่กำลังจะตาย" คำกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงขององค์กรในเรื่องต่างๆ ย่อมเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิด หรือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องมีผู้นำที่มีแนวคิด การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในเชิงกลยุทธ์ (Paradigm Shift) และการคิดล่วงหน้า (Forward Thinking) ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงปัจจุบันให้เหมาะกับอนาคต การมีวิสัยทัศน์ (Vision Shift) การดำเนินการจัดการ (management Shift) วางแผน กำหนดทิศทางขององค์กร (Direction Shift) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ จำเป็นต้องมีผู้นำที่มีศักยภาพทางด้านความคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อจัดทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ เปลี่ยนแปลงองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้อง และ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะกับอนาคต (Corporate Culture Shift) ไปพร้อมๆกัน

3. การมีวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission)

ผู้ นำแห่งองค์กรสมัยใหม่ (Modern Organization) ควรเน้นหนักทางด้านการกำหนด วิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission) เนื่องจากมีผุ้บริหารน้อยคน ที่จะเข้าใจคำสองคำนี้ได้อย่างถ่องแท้ และ การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มาจากผู้บริหารที่ไม่มีองค์ความคิด (Visionary Thinking) ก็จะกำหนดวิสัยทัศน์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้น ผู้บริหารที่จะมีวิสัยทัศน์ และ สามารถกำหนดพันธกิจ ได้เหมาะสม จึงต้องมีความสามารถทางด้าน วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ทั้ง สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อองค์กร เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ และสภาพแวดล้อมภายใน เพื่อกำหนดพันธกิจ ให้เหมาะสมเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้

4. การมีความคิดในเชิงบูรณาการ (Innovative Thinking) และ ความคิดนอกกรอบ (Creative Thinking)

ผู้นำย่อมต้องใส่ใจและให้ความสำคัญต่อ Strategic Innovation หรือ นวัตกรรมทางกลยุทธ์ เพราะ หลีกเลี่ยงไม่ได้กับการพัฒนาเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ ขณะเดียวกันหากผู้นำมีมุมมองในเชิงบูรณาการ และการคิดนอกกรอบ ก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย เช่นองค์กรในอดีตที่รอดมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ คอมพิวเตอร์ในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา แต่องค์กรที่ล้มหายตายจากไป กลับมีมุมว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ทั้งนี้ การสร้างความคิดที่เรียกว่า Strategic Innovation Thinking จะเป็นการสร้างมุมมองในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับ เทคนิคการพัฒนาเพื่อให้แตกต่าง (Creative Thinking & Innovation Thinking)

5. การวางแผนทางเลือก (Scenario Planning) และการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

จากภาวะเศรษฐกิจมีความผันผวน ธุรกิจต่างๆจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับความผันผวนที่เกิดขึ้น ทั้งจากสังคม เศรษฐกิจ คู่แข่ง รวมทั้งความต้องการของลูกค้า การวางแผนขององค์กรต่างๆ จึงต้องพึ่งนักบริหารหรือผู้นำที่มีมุมมองแนวคิดในเชิงความเปลี่ยนแปลงใน อนาคต (Future Thinking) และ จัดทำแผนทางเลือก (Scenario Planning) ที่หลากหลายเพื่อมารองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น การคิดเชิงกลยุทธ์ จึงเป็นเครื่องมือที่จะมาใช้ประยุกต์ต่อ การสร้างแผนเพื่อตอบสนองกับ หรือการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันนั่นเอง ซึ่งทำให้เราจะได้ทราบถึง

- การคิดเชิงกลยุทธ์ในการมองอนาคต

- การสร้างทางเลือกเชิงกลยุทธ์จากวิธี Scenario

- เทคนิคการสร้างแผนกลยุทธ์ด้วยการสร้างภาพในอนาคต


จากแนวคิดและทฤษฎีประกอบการตัดสินใจกรณี หวยออนไลน์ ที่กล่าวมาข้างต้นประกอบกับการพิจารณาถึงทางออกแห่งปัญหาสองแพร่งทาง จริยธรรม (What ethical dilemmas do principal face?) ที่นายกฯอภิสิทธิ์ จำเป็นต้องเลือกตัดสินใจในอนาคตอันใกล้ นับได้ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทางออกในเรื่องนี้ ดังที่มีผู้ออกมาต่อต้านคัดค้าน แบ่งออกเป็น 2 ขั้วด้วยกัน แต่สิ่งที่เป็นภาระอันยิ่งใหญ่กว่านั้นคือการเป็นผู้นำที่ต้องอยู่บนพื้นฐาน ของจริยธรรม ผู้นำจึงมักพบกับความอึดอัดใจที่จะต้องตัดสินใจทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งที่ เห็นว่าดีกว่าอีกทางเลือกหนึ่งในเกณฑ์เชิงจริยธรรม เนื่องจากในบางครั้งประเด็นเชิงจริยธรรมไม่ใช่การเลือกระหว่างผิดหรือถูก แต่เป็นเรื่องของอย่างไหนที่เหมาะสมกว่ากัน ไม่มีสูตรสำเร็จใดที่ผู้นำสามารถใช้เพื่อแก้ปัญหาทางเลือกทางจริยธรรม แต่มีแนวทางดำเนินการกว้าง ๆ เช่นกัน ตัวอย่างคือ


1. ต้องใช้มาตรฐานด้านจริยธรรม (ethical standards) เป็นบรรทัดฐานในการตัดสิน


2.ดู ผลที่เกิดขึ้นตามมาถ้าตัดสินใจเลือกวิธีนั้น และให้พยายามวิเคราะห์ว่า ใครบ้างที่จะถูกผลกระทบและผลที่เกิดกับคนเหล่านี้เป็นอย่างไร


3. ตัดสินใจเลือกทางเลือกโดยอิงหลักเกณฑ์ทางศีลธรรม (moral rules)


หรืออาจพิจารณาทางออกได้มากกว่าสองทาง (dilemmas) คือไม่อนุมัติหรือยกเลิก แต่อาจมีทางเลือกที่สาม (trilemmas) ซึ่งอาจเป็นทางออกสุดท้ายที่ดีกว่าก็เป็นได้เช่นกัน และท้ายที่สุดประเด็นการตัดสินใจในครั้งนี้ของนายกฯอภิสิทธิ์ ดูกล้ายจะเป็นการแสดงถึงศักยภาพแห่งการตัดสินใจของผู้นำคนนี้อีกครั้ง โจทย์วันนี้จึงไปไกลว่าเรื่องการจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ โครงการหวยออนไลน์ แต่การหาข้อยุติเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา กำลังเป็นบททดสอบที่สำคัญสำหรับ "รัฐบาล มาร์ค 1” อีกครั้ง


No comments:

Post a Comment

Total Pageviews