.

Mar 7, 2009

ปัญหาคุณธรรมและจริยธรรมบนพื้นที่ไซเบอร์




เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร (Information and Communication Technology:ICT) นับว่ามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน และถือเป็นหัวใจสำคัญแห่งพลังขับเคลื่อนในการผลักดันประเทศเข้าสู่สังคมโลกา ภิวัตน์ซึ่งมีพื้นฐานแห่งการระดมสมอง ภูมิปัญญาและการเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง

กล่าวถึงอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีประสิทธิภาพสูง จึงสามารถช่วยแบ่งเบากิจกรรมนานาชนิดในการดำเนินชีวิตประจำวันแห่งมนุษย์ ชาติในปัจจุบัน โดยประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยส่วนใหญ่ มีอายุเฉลี่ยประมาณ 20-30 ปี แต่กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 20 เป็นกลุ่มผู้ใช้ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นรวดเร็วที่สุด

การที่เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมในปัจจุบันมีการบูรณาการจนเกิด สภาพที่เรียกว่าพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberspace) และโลกเสมือนจริง (Virtual World) รวมถึงสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะเห็นว่ามี ปัญหาต่างๆมากมายที่เกิดตามมาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต เช่น การฉ้อโกง การล่อลวงทางเพศ อาชญากรรมทางธุรกิจ โดยผู้กระทำผิดดำเนินการผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นสำคัญคือความรุนแรง หรือผลกระทบรวมถึงวิธีการป้องกัน ดูเหมือนจะทวีคูณกว่าช่องทางอื่น เนื่องจากช่องทางที่แทรกผ่านสู่โลกไซเบอร์นั้นมีกลไกที่สลับซับซ้อนจับต้อง ไม่ได้เป็นรูปธรรม

ภัยคุกคามรูปแบบต่างๆที่ถูกจัดอันดับจากสำนักวิจัยต่างๆ จากทิศทางของภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูลคอมพิวเตอร์ในปี 2006 ดังนี้

1. Spam Email และ Malicious Email content คงปฏิเสธไม่ได้ว่า อีเมลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในการทำงานไปแล้ว ปัญหาก็คือ บรรดาผู้ไม่หวังดีได้ใช้อีเมลเป็นเครื่องมือในการส่งข้อมูลที่มีอันตรายให้ กับเรา และองค์กร เช่น มัลแวร์ หรือโปรแกรมมุ่งร้ายในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะมาทางแอทแทชไฟล์ หรือมาในรูปแบบของเนื้อหาล่อลวงในอีเมลบอดี้

2. สปายแวร์ (Spy Ware) ผลการวิจัย เรื่องสปายแวร์ระบุว่า 80% ของคอมพิวเตอร์พีซีทั่วโลกติดสปายแวร์ แม้กระทั่งมีการติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส ประเด็นปัญหาคือโปรแกรมสปายแวร์ ไม่ใช่โปรแกรมไวรัสดังนั้นจึงไม่สามารถป้องกันได้

3. มัลแวร์ (Mal ware) มัลแวร์ ก็คือ Malicious Software หรือโปรแกรมมุ่งร้ายที่มาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ActiveX หรือ Java Applet ที่มากับการใช้งาน Internet Browser โดยไม่ได้รับการติดตั้ง Patch หรืออาจมาในรูปของ Attached File ที่อยู่ในอีเมล ตลอดจนแฝงมากับโปรแกรมแชร์แวร์ หรือ โปรแกรม Utility หรือโปรแกรม P2P ที่เรานิยมใช้ในการดาวน์โหลดเพลง หรือภาพยนตร์ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรแกรม Mal ware อาจจะเป็น SpyWare, Trojan Horse, Key logger หรือ Viruses และ Worm ที่เรารู้จักกันดี

4.ภัยจากการล่อลวงโดยวิธี Phishing และ Pharming "Phishing" อ่านออกเสียงว่า "Fishing" หมายถึง การตกปลา เราอาจตกเป็นเหยื่อของการตกปลา ถ้าเราเผลอไปกับเหยื่อที่เหล่า "Phisher" หรือผู้ไม่หวังดีล่อไว้ ซึ่งวิธีการของผู้ไม่หวังดีก็คือการส่งอีเมลปลอมแปลง ชื่อคนส่ง และชื่อเรื่องตลอดจนปลอมแปลงเนื้อหาในอีเมลให้ดูเหมือนจริง เช่น ส่งอีเมลมาบอกเราว่า มาจากธนาคารที่เราติดต่ออยู่เป็นประจำแล้วบอกให้เรา Login เข้าใช้งาน Internet Banking ถ้าเผลอคลิกโดยไม่ระมัดระวัง ก็จะเข้าไปติดกับดักที่ Phisher วางไว้

5.ภัยจากแฮคเกอร์ และ Google Hacking Method ปัจจุบันการแฮกไปยังเวบ แอพพลิเคชั่นนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปแล้ว โดยมีการอาศัย Google.com เป็นช่องทางค้นหาเวบไซต์ที่มีช่องโหว่ ซึ่งสามารถแฮกและเนื่องจาก Google hacking นั้นจะเป็นการ hacking แบบไม่เลือกเหยื่อ ดังนั้นทุกเวบไซต์ที่มีช่องโหว่ที่ Google เห็นจึงล้วนแล้วแต่มีโอกาสถูกแฮกเท่าๆ กันทั้งสิ้น
ปัญหาผลกระทบที่เสีย หายต่อบุคคลและสังคมจากเว็บไซต์คุณธรรม จริยธรรม มีดังนี้

ผลกระทบต่อบุคคล

ทำให้บุคคลขาด ทักษะในการบริหารจัดการ และใช้งานระบบสารสนเทศใหม่ๆ อาจเกิดความ เครียดตลอดจนขาดความมั่นใจ ในการทำงานกับสารสนเทศที่ตนเองไม่เคยชิน จนกระทั่งบางครั้งอาจลุกลามไปสู่การต่อต้านจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเคยชินกับระบบการทำงานด้วยเทคโนโลยีเดิม ๆ

ผลกระทบต่อสังคม


แม้ว่าสังคมจะได้รับประโยชน์มากจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศแต่ สังคมก็มีโอกาสได้รับผลเสียจากระบบดังกล่าว ดังนี้

1. อัตราการจ้างงาน เมื่อมีการนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้อาจส่งผลต่อการจ้างงานลดลงได้
2. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เช่น การโจรกรรมผ่านระบบออนไลน์ เว็บไซด์ลามก การล่อลวงทางเพศในโลกออนไลน์
3. อันตรายทางอ้อมจากเว็บไซด์อันตราย เช่น เกมส์ออนไลน์ที่อาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในหมู่เด็กๆ
4. การไม่รับผิดชอบต่อความผิดที่เกิดขึ้น เพราะยากในการสืบสวน สอบสวน
5. ผลกระทบด้านภาษาพบว่ามีการใช้ภาษาที่สั้นกะทัดรัด เป็นคำที่ใช้เฉพาะกลุ่ม มีการใช้คำแผลง อาจส่งผลต่อการนำไปใช้ในชีวิตจริงๆ
6. พฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่ทำการสร้างข่าวสารเท็จก่อให้เกิดความวุ่นวายกับเว็บไซด์

ดังนั้นคุณธรรมและจริยธรรมในการทำกิจกรรมต่างๆ บนพื้นที่ไซเบอร์ คือ มาตรการหนึ่งที่จะเป็นปัจจัยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเพื่อที่จะให้เกิดการพัฒนาอย่างเหมาะสมและยั่งยืนต่อไปได้


แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาบนพื้นที่ไซเบอร์


1.มาตรการทางการบริหาร หน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง รวมทั้งต้องมีบุคลากรที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และในขณะนี้ทางภาครัฐได้มีการดำเนินนโยบายขยายการใช้อินเทอร์เน็ตไปสู่ สังคมระดับรากหญ้า หากไม่มีการระมัดระวังและเตรียมการที่ดีก็อาจเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมและ กิจกรรมที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตไปสู่รากหญ้าและเยาวชนในชนบท แต่หากมีการเตรียมการที่ดี ตำบลอาจใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการกระจายความเจริญทางเทคโนโลยีและกระจาย องค์ความรู้ใหม่ ๆไปสู่สังคมได้ ดังนั้นหน่วยงานดังกล่าวจะต้องมีการวางมาตรการที่เด็ดขาดในการควบคุมดูแล พื้นที่ไซเบอร์ มีนโยบายที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

2.มาตรการทางกฎหมายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ใน การบังคับใช้กฎหมายต้องมีบุคลากรอย่างเพียงพอ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นอกจากกำหนดให้การกระทำอันมิชอบทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ต เป็นความผิดที่ไม่ต่างจากการกระทำในโลกจริงแล้วยังพยายามแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย เพิ่มอำนาจการสืบสวนสอบสวน เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานให้กับเจ้าพนักงานของรัฐรวมทั้งกำหนดให้ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวพันกับข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายมีหน้าที่ตาม กฎหมายต้องจัดเก็บส่งมอบหรือให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานเพื่อช่วยกันนำตัว ผู้กระทำความผิดมาลงโทษ

3.มาตรการทางการ ควบคุมจรรยาบรรณ จะต้องมีเครือข่าย ที่มีการดูแล ผู้ประกอบอาชีพและทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ ที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ควรมีการป้องกันการชี้นำความคิดที่ผิดให้แก่คนในสังคม การที่ต้องมีการกระตุ้นให้เกิดสมาคมและเครือข่ายเพื่อดูแลกันเอง เพราะการเก็บข้อมูล หรือแสดงข้อมูล เพื่อแสดงตัวตน และความน่าเชื่อถือในขอบเขตเรื่องธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และองค์กร เครือ ข่าย สมาคม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังสามารถช่วยเหลือคนในวงการอินเตอร์เน็ต ช่วยคนทำเว็บไซต์ ใช้สายสัมพันธ์ในการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

4.มาตรการทางสังคม ต้องยกระดับและพัฒนาสถาบันพื้นฐาน เช่น สถาบันครอบครัวสถาบันศาสนา สถาบันทางสังคม และสถาบันทางธุรกิจให้มีความรู้ ความสามารถด้านไอทีเพียงพอที่จะดูแลบุคคลในสถาบันของตน โดยที่ผู้นำองค์กรทางธุรกิจและสังคมต้องมีความรู้ทาง ไอทีเป็นอย่างดี

5.มาตรการทางการศึกษา ควรพัฒนาการศึกษาระบบสารสนเทศและความรู้ไอทีให้กว้างขวาง รวมทั้งจัดทำหลักสูตรออนไลน์ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งในและนอกระบบการศึกษา

6.มาตรการทาง คุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่ การจัดระบบการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ทางด้านคุณธรรมและ จริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นเข้าไปชักนำโลกเสมือนจริงและการทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซ เบอร์ไปในทางที่ถูกที่ควร

การบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำ ผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 18 มิถุนายน 2550 แต่ดูเหมือนว่าที่ผ่านมาการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ยัง อยู่ในวงจำกัด และการบังคับใช้กฎหมายก็ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่ค่อนข้างมาก แม้กระทั่งกรณีเว็บไซต์กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ถูกท้าทายด้วยการที่ถูกมือดีแฮกหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้เป็นรายแรก แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เห็นว่ามีใครถูกจับดำเนินคดีภายใต้กฎหมายฉบับนี้ หรือแม้กระทั่งกรณีการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงในเว็บยูทูบก็ยังไม่สามารถจับตัว ผู้กระทำผิดได้เช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีปัญหาในส่วนของการตีความกฎหมาย อีกในหลายๆ ประเด็น เนื่องจากเป็นกฎหมายใหม่ และเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งของกระทรวงไอซีที กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กลับมีความเห็นไม่ตรงกัน ทำให้มีปัญหาในทางปฏิบัติ ค่อนข้างมาก โดยปัญหาที่เกิดขึ้นมีทั้งที่เป็นคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ให้ข้อมูลเท็จ ทำให้ผู้อื่นเสียหาย จนถึงปัญหาสังคม เช่นกรณีของ hi5 อาจไม่ได้เป็นคดีปัญหาทางกฎหมาย แต่เป็นปัญหาด้านสังคม ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่กระทรวง ไอซีที กระทรวงพัฒนาสังคม กระทรวงวัฒนธรรม มหาดไทย กลาโหม ตำรวจ ดีเอสไอ


องค์กรต่างๆ พร้อมหรือรับรู้ข้อกฎหมายนี้มากเพียงใด

ส่วนใหญ่ องค์กรเล็กๆ ที่มีพนักงาน 5-10 คน ยังไม่รู้ หรือแม้แต่ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องช่วยการ ทุกคนต้องเตรียมตัวและเตรียมพร้อม

เกิดการวิจารณ์ว่าลิดรอนสิทธิ์มากไป

ต้องคิดอีกมุม เพราะการเก็บข้อมูลก็เพื่อประโยชน์ในการติดตามต้นตอของปัญหา อย่างกรณีที่เอารถบริษัทไปใช้ ก็ต้องมีการเซ็นเบิกเพื่อให้รู้ว่าใครครอบครองอยู่ ซึ่งการใช้อินเทอร์เน็ตขององค์กรต่างๆ ก็เหมือนกัน และการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ก็ให้อำนาจศาลหมด เช่น การปิดเว็บ บล็อกเว็บ ระบุว่าถ้าเป็นเรื่องความมั่นคง หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมของประชาชน ดูเหมือนกฎหมายเขียนไว้กว้างๆ แต่ทั้งหมดต้องไปขออำนาจศาลในการสั่ง ไม่ใช่ว่าเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายจะสามารถทำได้ตามอำเภอใจ อยากให้ความเข้าใจว่าทำไมจะต้องมีกฎหมาย

ปัญหาหลักของ พ.ร.บ.คอมฯ คือการบังคับใช้ไม่ชัดเจน

บางอย่างคลุม เครือเนื่องจากกฎหมายฉบับนี้เขียนยาก เพราะต้องเขียนโดยคนที่มีความรู้ด้านเทคนิคและกฎหมายมาผสมกัน

ปัญหาในการตีความบังคับใช้กฎหมาย

เนื่องจากข้อ กฎหมายถ้าไม่รู้จริงวิจารณ์อาจจะพลาด ต้องยืนบนหลักของกฎหมาย แต่ปัญหาการตีความส่วนหนึ่งก็อยู่ในขั้นกรรมาธิการซึ่งได้มีการเขียนบันทึก ไว้ เช่นตอนนี้กรณีมีการแอบอ้างตัวตนหรือปลอมแปลงในการสมัคร hi5 ซึ่งเข้าความผิดตามมาตรา 14 (1) ฐานให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายของกระทรวงไอซีทีบางคนก็ให้ความเห็นว่า การปลอมแปลงดังกล่าวถ้ายังไม่ได้ทำให้เสียหายก็ถือว่าไม่มีความผิด ก็ยังเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ

ปัญหาในทางปฏิบัติค่อนข้างมาก

เพราะคดีบนอินเทอร์เน็ตเป็นคดีที่ไม่มีประจักษ์พยานในการกระทำความผิด แต่กระบวนการยุติธรรมบ้านเราต้องมีหลักฐานมัดแน่น ดังนั้นข้อมูลไอพีแอดเดรสอย่างเดียวไม่พอ เพราะถ้ามีการกระทำผิดในการเขียนข้อความเป็นเท็จให้ผู้อื่นเสียหาย ให้บ้านหลังหนึ่งซึ่งอยู่กัน 5 คน การที่จะสรุปว่าใครเป็นคนทำเราต้องมีประจักษ์พยานหลักฐานยืนยัน อย่างกรณีคดีหมิ่นที่เพิ่งจับได้ต้องรอเป็นเดือน เพราะบ้านมี 5 คนต้องรอให้อยู่บ้านคนเดียวแล้วออนไลน์และมีการกระทำผิดถึงจะออกหมายจับได้ การไล่จับผู้กระทำผิดบนอินเทอร์เน็ต ก็เหมือนการป้องกันยุง คือยุงไม่มีค่าอะไรเลย แต่บ้านเราต้องลงทุนเท่าไรติดมุ้งลวดทุกบ้านเพราะป้องกันยุงกัด ก็เช่นเดียวกับที่คนที่มีแค่คอมพิวเตอร์ก็ด่าใครๆ ได้ ให้ร้ายคนอื่นๆ ได้ แต่อุปกรณ์ที่จะมาตรวจ ดักจับ ต้องลงทุนกี่ร้อยล้าน

ส่งเสริมให้ประชาชนบนโลกไซเบอร์มีคุณภาพ

ต้อง มีการส่งเสริมให้คนมีคุณภาพเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ต และต้องสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นมากๆ อย่างโครงการคลังปัญญาก็เป็นโครงการหนึ่งที่จะตอบโจทย์ดังกล่าว ในการเอาคอนเทนต์จากคนที่มีความรู้ เช่น ผู้บริหารฯ อาจารย์ นักวิชาการ หรือแม้กะทั่งนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทำการเขียนบทความลงเวปไซต์ เวปบล๊อค เหล่านี้จะเป็นการส่งเสริมผลักดันให้มีเว็บไซต์คุณภาพ ให้ความรู้ เกิดมุมมองหลายๆ มุม เกิดเว็ปไซต์คุณภาพ ประเด็นสำคัญคือควรต้องมีการสร้าง ค่านิยม ส่งเสริมให้มีผู้ใหญ่เข้ามาช่วยแชร์การใช้งานในสังคมออนไลน์ ซึ่งมีคนใช้งานอินเทอร์เน็ตถึง 10 ล้านคน ขณะที่มีคนที่อายุ 40 ปีขึ้นที่ใช้ อินเทอร์เน็ตน้อยมาก ตัวเลขต่ำกว่าแสนคนจึงไม่เกิดการสมดุลในกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตค่ะ

No comments:

Post a Comment

Total Pageviews